วิสัยทัศน์สำหรับผู้บริหาร
ของนายนพดล นงเกษม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล
วิสัยทัศน์ในการปฏิบัติงาน
“ยึดหลักธรรมาภิบาล มุ่งบริการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ”
พันธกิจ
1. มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมให้เกิดจิตสำนึกร่วมกัน มีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ
2. พัฒนาให้บุคลากรได้เข้าถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง
3. พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน
4. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน
5. สร้างความโปร่งใส เสมอภาคและเป็นธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักธรรมาภิบาล
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ซึ่งมีศักยภาพในด้านความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการบริหารงานเพื่อที่จะพัฒนาประสิทธิภาพให้ไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนนั้นจะต้องอาศัยหลักการบริหารงานอย่างมืออาชีพ การดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จและเพื่อทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นและทำให้พึ่งตนเองได้ นำไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ “ยึดหลักธรรมาภิบาล มุ่งบริการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน” จึงกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนา การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1.1 สร้างจิตสำนึกและพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรให้มีการปฏิบัติตามหลัก
ธรรมาภิบาล
1.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารงานขององค์กร
1.3 ส่งเสริมและพัฒนาให้บุคลากรปฏิบัติตามกรอบกฎหมาย มีความเสมอภาคและเป็นธรรม
1.4 จัดทำมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมขององค์กร
1.5 ยึดหลักปฏิบัติตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
2.1 ส่งเสริมบุคลากรในองค์กรให้เข้ารับการศึกษา อบรม ตามหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนเอง
2.2 พัฒนาบุคลากรให้รักงานในหน้าที่ โดยสร้างจิตสำนึกให้กับบุคลากร เป็นผู้มีความรับผิดชอบในตนเอง ตรงต่อเวลา และทำงานที่ตนเองได้รับมอบหมายอย่างเต็มใจและสุดกำลังความสามารถ
2.3 พัฒนาบุคลากรให้รักประชาชน โดยส่งเสริมให้บุคลากรมีจิตสาธารณะ บริการด้วยความ
เสมอภาค สะดวก รวดเร็ว มีอัธยาศัยไมตรี บริการด้วยความเต็มใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส ยึดหลักเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
2.4 พัฒนาบุคลากรให้มีคุณธรรม จริยธรรม สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเองและทุกคนในองค์กรให้ยึดมั่นทำแต่ความถูกต้อง ถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายเสมอกันและรู้จักการพัฒนาตนเอง
2.5 พัฒนาบุคลกรให้รักองค์กร เพื่อพัฒนาองค์กรให้เป็นสถานที่ทำงานน่าอยู่ พร้อมที่จะบริการประชาชนให้เกิดความประทับใจเมื่อมารับบริการ เป็นมิตรกับประชาชน และการร่วมมือร่วมใจกันในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์กร มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
3.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์กร
3.2 ส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร
3.3 จัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์จากประชาชน เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามความต้องการของประชาชน
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการให้บริการประชาชน มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
4.1 ปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานขององค์กรให้รวดเร็ว โดยลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลง
4.2 พัฒนาบุคลิกภาพของบุคลากรในองค์กรให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน
4.3 ให้บริการด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ รวดเร็ว และไม่เร่งรีบจนเกิดความผิดพลาด ซึ่ง
จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและองค์กร
4.4 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน
เพื่อให้ประชาชนผู้รับบริการเกิดความประทับใจ และมีความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการขององค์กร
4.5 ผู้ให้บริการต้องมีการศึกษาหาความรู้ในงานที่ปฏิบัติ สามารถตอบคำถามและชี้แจงแก่ประชาชนผู้มารับบริการได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการบริหารงานตามวิสัยทัศน์ “ยึดหลักธรรมาภิบาล มุ่งบริการเพื่อประโยชน์
สุขของประชาชน” คือ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการปฏิบัติงานได้อย่างมีผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบล มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในการทำงาน ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการอย่างถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
ยุทธศาสตร์
|
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
|
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
1.1 สร้างจิตสำนึกและพัฒนาขีดความสามารถของ
บุคลากรให้มีการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล
1.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการ
บริหารงานองค์กร
1.3 ส่งเสริมและพัฒนาให้บุคลากรปฏิบัติตามกรอบ
กฎหมาย มีความเสมอภาคและเป็นธรรม
1.4 จัดทำมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมของ
องค์กร
1.5 มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตาม พ.ร.บ.ข้อมูล
ข่าวสาร พ.ศ. 2540
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
2.1 ส่งเสริมบุคลากรในองค์กรให้เข้ารับการศึกษา
อบรม ตามหลักสูตรต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนเอง
|
1.1 บุคลากรมีจิตสำนึก มีขีดความสามารถใน
ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและประชาชน
ที่มารับบริการมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 90
1.2 ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารงานของ
องค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 80
1.3 บุคลากร ปฏิบัติตามกรอบกฎหมาย มีความ
เสมอภาคและเป็นธรรม ร้อยละ 90
1.4 องค์การบริหารส่วนตำบลมีมาตรฐาน
คุณธรรมและจริยธรรมบังคับใช้
1.5 องค์การบริหารส่วนตำบลมีการเปิดเผยข้อมูล
ข่าวสาร ร้อยละ 100
2.1 บุคลากรในองค์กรได้รับการศึกษา อบรม
ตามหลักสูตรต่างๆ อย่างน้อยคนละ 1
หลักสูตรต่อปี และมีการศึกษาหาความรู้ใน
เรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
|
ยุทธศาสตร์
|
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
|
2.2 พัฒนาบุคลากรให้รักงานในหน้าที่ โดยสร้าง
จิตสำนึกให้กับบุคลากร เป็นผู้มีความรับผิดชอบ
ในตนเอง ตรงต่อเวลา และทำงานที่ตนเองได้รับ
มอบหมายอย่างเต็มใจและสุดกำลังความสามารถ
2.3 พัฒนาบุคลากรให้รักประชาชน โดยส่งเสริมให้
บุคลากรมีจิตสาธารณะ บริการด้วยความเสมอ
ภาค สะดวก รวดเร็ว มีอัธยาศัยไมตรี บริการ
ด้วยความเต็มใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส ยึดหลักเพื่อ
ประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
2.4 พัฒนาบุคลากรให้มีคุณธรรม จริยธรรม สร้าง
ความเชื่อมั่นให้กับตนเองและทุกคนในองค์กรให้
ยึดมั่นทำแต่ความถูกต้อง ถือประโยชน์ส่วนรวม
เป็นหลัก ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายเสมอกัน
และรู้จักการพัฒนาตนเอง
2.5 พัฒนาบุคลกรให้รักองค์กร เพื่อพัฒนาองค์กรให้
เป็นสถานที่ทำงานน่าอยู่ พร้อมที่จะบริการ
ประชาชนให้เกิดความประทับใจเมื่อมารับบริการ
เป็นมิตรกับประชาชน และการร่วมมือร่วมใจกัน
ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่
องค์กร
|
2.2 บุคลากรในองค์กร มีความรับผิดชอบใน
ตนเอง ตรงต่อเวลา และทำงานอย่างเต็มใจ
และเต็มกำลัง ความสามารถเพิ่มขึ้น ไม่น้อย
กว่าร้อยละ 80
2.3 บุคลากรในองค์กรมีจิตสาธารณะเพิ่มขึ้นไม่
น้อยกว่าร้อยละ 70
2.4 บุคลากรมีคุณธรรม จริยธรรมและรู้จักพัฒนา
ตนเองไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2.5 ประชาชน ร้อยละ 70 เกิดความประทับใจ
และมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของ
องค์การบริหารส่วนตำบล
|
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาส่งเสริมการมีส่วนร่วม
ในการบริหารงานขององค์กร
3.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วน
ร่วมในการบริหารงานขององค์กร
3.2 ส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรได้มีส่วนร่วมในการ
พัฒนาองค์กร
3.3 จัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อรับเรื่อง
ร้องเรียน ร้องทุกข์จากประชาชน เพื่อสามารถ
แก้ไขปัญหาได้ตรงตามความต้องการของ
ประชาชน
|
3.1 ประชาชนร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการพัฒนา
องค์การบริหารส่วนตำบลด้านต่างๆ
3.2 บุคลากรในองค์กรมีส่วนร่วมในการพัฒนา
องค์กรเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85
3.3 องค์การบริหารส่วนตำบล สามารถแก้ไข
ปัญหาได้ตรงตามความต้องการของประชาชน
ร้อยละ 100
|
ยุทธศาสตร์
|
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
|
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการให้บริการประชาชน
4.1 ปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานขององค์กรให้
รวดเร็ว โดยลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลง
4.2 พัฒนาบุคลิกภาพของบุคลากรในองค์กรให้
เหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน
4.3 ให้บริการด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ รวดเร็ว
และไม่เร่งรีบจนเกิดความผิดพลาด ซึ่งจะทำให้
เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและองค์กร
4.4 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อ
พัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน เพื่อให้
ประชาชนผู้รับบริการเกิดความประทับใจ และมี
ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของ
องค์กร
4.5 ผู้ให้บริการต้องมีการศึกษาหาความรู้ในงานที่
ปฏิบัติ สามารถตอบคำถามและชี้แจงแก่
ประชาชนผู้มารับบริการได้อย่างถูกต้องและ
ชัดเจน
|
4.1 มีการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานของ
องค์กร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
4.2 บุคลิกภาพของบุคลากรได้รับการพัฒนาให้
เหมาะสมแก่การปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 95
4.3 ประชาชนร้อยละ 100 ได้รับการบริการที่
รวดเร็วถูกต้อง
4.4 ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความ
ประทับใจ และพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการ
ขององค์การบริหารส่วนตำบล
4.5 ประชาชนร้อยละ 100 ได้รับบริการที่ถูกต้อง
และชัดเจน
|
2. แนวคิดการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
1. การบริหารโดยยึดหลักธรรมาภิบาล เป็นหลักการบริหารที่มุ่งหวังให้เกิดระบบบริหารบ้านเมืองและสังคมที่ดี ซึ่งประกอบด้วย
1.1 หลักนิติธรรม การปฏิบัติงานด้วยหลักกฎหมาย ซึ่งต้องให้ความยุติธรรมและเสมอภาคกับทุก ๆ คน ทั้งในส่วนที่ใช้บังคับกับประชาชน และในส่วนที่ใช้ปกครองบังคับบัญชาในองค์กร รวมทั้งต้องพัฒนาความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัยอยู่เสมอ
1.2 หลักคุณธรรม เป็นการปฏิบัติงานที่ยึดมั่นในความถูกต้อง โดยมุ่งเน้นการรักษา
ผลประโยชน์ของส่วนรวมไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง มีคุณธรรมประจำใจ โดยผู้บังคับบัญชาต้องเป็นแบบอย่างที่ดี และมีการจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของพนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยึดถือปฏิบัติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติ ได้แก่
-
พึงดำรงตนให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ
และมีความรับผิดชอบ คือ มีการปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา โดยคำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชน และไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่หาผลประโยชน์
-
พึงปฏิบัติหน้าที่อย่างเปิดเผย โปร่งใส พร้อมให้ตรวจสอบ หมายถึง มีขั้นตอนการ
ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานและระยะเวลาให้แก่ผู้มาติดต่อราชการได้ทราบ เพื่อสามารถตรวจสอบติดตามได้ และมีการตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการที่ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน ในการตรวจสอบการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และหน่วยงาน ตลอดทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา ด้วยภาษาที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย
-
พึงให้บริการด้วยความเสมอ สะดวกรวดเร็ว มีอัธยาศัยไมตรี โดยยึดหลักประโยชน์
ของประชาชนเป็นหลัก คือ การให้บริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันอย่างเสมอภาคทั่วถึง เป็นธรรม การให้บริการด้วยความสะดวกรวดเร็วและตรงต่อเวลา และการให้บริการด้วยความเต็มใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส
-
พึงปฏิบัติหน้าที่โดยยึดผลสัมฤทธิ์ของงานอย่างคุ้มค่า คือ การปฏิบัติหน้าที่ให้แล้ว
เสร็จตามกำหนดและบรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ โดยคำนึงถึงผลลัพธ์และผู้มารับบริการโดยอยู่ภายใต้ขอบเขตระเบียบ กฎหมาย และใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและคุ้มค่า ทั้งในส่วนของการใช้เงินและใช้เวลา
-
พึงพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ และตนเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ คือ
การศึกษาหาความรู้ที่ทันสมัย เป็นการพัฒนาทางวิชาการและพัฒนาของตนเองอยู่เสมอด้วยวิธีการพัฒนารูปแบบต่าง ๆ เช่น เข้าร่วมอบรม ประชุม สัมมนา และศึกษาด้วยตนเอง
1.3 หลักความโปร่งใส เป็นการทำงานที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง และเป็นประโยชน์
อย่างตรงไปตรงมา สามารถตรวจสอบได้ โดยยึดหลักปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 เช่น ปิดประกาศ ข้อบัญญัติประมาณรายรับรายจ่าย แผนพัฒนาตำบล ประกาศสอบราคา ประกวดราคา การจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยประชาสัมพันธ์ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ และเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัด และกรมบัญชีกลาง
1.4 หลักความมีส่วนร่วม เป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล เช่น การจัดทำแผนพัฒนาของ อบต. การแต่งตั้งประชาชนเข้ามาเป็นคณะกรรมการจัดซื้อจ้าง แต่งตั้งประชาชนเข้ามาเป็นคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ของ อบต. เป็นต้น
1.5 หลักความรับผิดชอบ เป็นสิ่งที่องค์การบริหารส่วนตำบลต้องทำ เนื่องจากองค์กรมี
หน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดบริการสาธารณะให้กับประชาชน เมื่อมีปัญหาที่ประชาชนในพื้นที่เดือดร้อนและเป็นสิ่งที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กร จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเต็มความสามารถ ตลอดจนพนักงานทุกคนก็ต้องมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่วางไว้
1.6 หลักความคุ้มค่า โดยมุ่งเน้นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ทรัพยากรอย่าง
คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน โดยยึดหลัก 4 ประการ ดังนี้
-
ประสิทธิภาพ คือ การทำงานตามกระบวนการที่ถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว เช่น การ
ลดขั้นตอนการให้บริการ การอำนวยความสะดวก การให้คำแนะนำ
-
ประสิทธิผล คือ ผลหรือคุณภาพของงานที่มาจากประสิทธิภาพ เช่น เน้นความ
รวดเร็ว เรียบร้อย และถูกต้อง
-
โปร่งใส เน้นการทำงานที่เปิดเผย ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนและทุกเรื่องมีการ
เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง ทุกภารกิจ
-
ประหยัด เน้นการทำงานอย่างประหยัด ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าเงินงบประมาณ
ทุกบาทเป็นของแผ่นดิน ที่เราต้องช่วยกันรักษา ไม่ใช่งบประมาณส่วนตัว การใช้จ่ายต้องรอบคอบ การจัดซื้อจัดจ้างต้องเน้นคุณภาพสูงเหมาะสมกับราคา เพื่อใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและประหยัด
2. การบริหารโดยหลักความถูกต้องและถูกใจ การที่จะทำงานให้ถูกต้องจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจถึงบทบาท อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กร ตามตัวบทกฎหมาย กฎเกณฑ์ โดยถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการปฏิบัติงาน และในขณะเดียวกันจะต้องคำนึงถึงความพอใจของประชาชนในฐานะเป้าหมายของการบริหารงานหรือผู้รับประโยชน์เป็นสำคัญ
3. แนวทางพัฒนางานในหน้าที่
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่และความรับผิดชอบบริหารงานในฐานะผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้างในองค์กร เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญภายในองค์กร ถ้าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน ยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญ มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา มีมนุษย์สัมพันธ์และประสานความร่วมมือทุกฝ่าย ก็สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ไม่ยาก แต่ในทางกลับกันถ้าเป็นผู้ด้อยความสามารถ ขาดการพัฒนาตนเองก็อาจนำพาองค์กรไปสู่ความล้มเหลวได้ ปัญหาในการปฏิบัติงานในพื้นที่ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง แต่ทุกปัญหามีทางแก้ไข ซึ่งแนวทางการพัฒนางานในหน้าที่มี ดังนี้
1. ใช้วงจรควบคุมคุณภาพ PDCA ประกอบด้วย
P=Plan (วางแผน) หมายถึง การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อาจประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานการจัดอันดับความสำคัญของเป้าหมาย กำหนดการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลากำหนดผู้รับผิดชอบและกำหนดงบประมาณที่จะใช้ การเขียนแผนอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะการดำเนินงาน การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
D=Do (ปฏิบัติตามแผน) หมายถึง การดำเนินการตามแผน อาจประกอบด้วย การมีโครงสร้างรองรับการดำเนินการ (เช่นมีคณะกรรมการ) มีวิธีการดำเนินการ (เช่น มีการประชุมของคณะกรรมการ) และมีผลของการดำเนินการ
C=Check (ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน) หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วย การประเมินโครงสร้างที่รองรับการดำเนินการ การประเมินขั้นตอนการดำเนินงานและการประเมินผลของการดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถทำได้เอง โดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบ
แผนการดำเนินงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ อีกชุดมาประเมินแผน หรือไม่จำเป็นต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมินที่ยุ่งยากซับซ้อน
A=Action (ปรับปรุงแก้ไข) หมายถึง การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วย การนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้าง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควรปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีกและสังเคราะห์รูปแบบการดำเนินการใหม่ที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการในปีต่อไป
2. ใช้เทคนิคการระดมสมองให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นเทคนิคที่สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยว กับปัญหาโดยไม่มีการประเมินว่าความคิดเห็นของใครว่าดีหรือไม่ดี ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้ การระดมสมอง ถือว่าเป็นวิธีแรกที่เป็นเครื่องมือที่ลดการขัดขวางและสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของสมาชิกโดยการไม่มีการประเมินความคิดเห็นที่แสดงของสมาชิก ลดการมีอิทธิพลของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง โดยการมีวิธีสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสตอบให้ความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นอย่างสั้น ๆ
3. ใช้เทคนิคการประชุมร่วมกัน เป็นการเรียนรู้เพื่อให้เกิดกระบวนการร่วมกลุ่มย่อย เพื่อเสริมสร้างกำลังกาย กำลังใจแนวคิดและสติปัญญาให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน แก้ไขปัญหาอุปสรรคนานาประการให้สอดคล้องตามจุดประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กร
4. ใช้เทคนิคการทำงานเป็นทีม คือ การที่กลุ่มคนต้องทำงานโดยต้องร่วมมือ พึ่งพาอาศัยกันและกัน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย การสร้างทีมงานมีความสำคัญต่อผลสำเร็จของกระบวนการเน้นคุณภาพ
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
การปฏิบัติงานในหน้าที่ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จะต้องยึดระเบียบ กฎหมายและหนังสือสั่งการในเรื่องที่ปฏิบัติโดยเคร่งครัด เพื่อป้องกันปัญหาและความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ได้ นอกจากนี้ยังจะต้องมีหลักการและแนวทางปฏิบัติเพื่อเป็นเครื่องกำกับความประพฤติของตนเองอยู่ตลอดเวลา ได้แก่ การดำรงตนให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดี ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละและมีความรับผิดชอบ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเปิดเผย โปร่งใสพร้อมให้ตรวจสอบ และพึงปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
4. แนวทางการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการปกครอง จำเป็นจะต้องกำหนดนโยบายและมีแผนเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการกำหนดกลยุทธ์ในการนำนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติงานให้ประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด รวมทั้งประชาชนมีความพึงพอใจ แนวทางการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีดังนี้
1. การพัฒนาบุคลากร คนนับเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาในทุกด้าน การพัฒนาคนเป็นทั้งเป้าหมายและวิธีการของการพัฒนาที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ ทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม แนวทางการพัฒนาคือการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่พนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์กร ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีความสำคัญต่อหน่วยงานใน
ฐานะผู้ปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร จึงควรพัฒนาในเรื่อง
- การพัฒนาระบบการบริการประชาชนให้ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยทั่วไป
- ส่งเสริมการเรียนรู้ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและกฎหมาย ระเบียบที่เปลี่ยนแปลงใหม่ เพื่อให้พนักงานปรับความคิด เปลี่ยนวิธีทำงาน จัดกลุ่มงานให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและในอนาคต เช่น หนึ่งงานในสามคน หนึ่งคนให้รู้สามงาน การหมุนเวียนงาน การจัดการองค์ความรู้ เป็นต้น ตลอดจนส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ
2. การพัฒนางาน ประกอบด้วย
- การพัฒนาด้านเทคโนโลยี จัดให้มีสำนักงานอัตโนมัติ มีการนำเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่มาใช้ในสำนักงาน เพื่อเก็บข้อมูล ประมวลผล ดึงออกมาใช้และเผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ ทำให้การติดต่อสื่อสาร การสั่งงานไม่เสียเวลา สามารถทำงานได้ทุกสถานที่ สามารถหาสารสนเทศได้ง่ายขึ้น ลดภาระงานที่ไม่จำเป็นแก่พนักงานและลดภาระผู้บริหาร สำนักงานอัตโนมัติสามารถสั่งงาน ส่งงาน ตรวจทานงานได้โดยผ่านคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องเสียเวลาในการประชุม
- การพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์ ใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี การสื่อสารภายในองค์กร สื่อมวลชนสัมพันธ์และการรายงานต่อสาธารณชน ชุมชนสัมพันธ์หรือองค์กรสัมพันธ์ การทำกิจกรรมสังคม การประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักองค์กร
3. การพัฒนาตนเอง ควรมีการพัฒนาตนเองให้พร้อมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและคุณธรรม รวมทั้งต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล มีภาวะผู้นำ เพราะจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ในการบริหารงานในหน้าที่ให้บรรลุผลสำเร็จมีแนวทาง ดังนี้
- การพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ ได้แก่ การพัฒนาตนเองให้มีร่างกายที่แข็งแรง มีสุขภาพดี ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดีด้วย โดยการหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ละเว้นอบายมุข สิ่งเสพติดทุกรูปแบบ มีอารมณ์ที่มั่นคง แยกแยะระหว่างเรื่องส่วนตัวและเรื่องงานได้ มีความขยันขันแข็ง พร้อมปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เต็มกำลัง
- การพัฒนาด้านสติปัญญา ได้แก่ การหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา รวมทั้งการค้นคว้า แสวงหาความรู้ใหม่ๆ การฝึกอบรม สัมมนา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้รู้ เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล รู้จักการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในอันที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนางานในหน้าที่ได้เป็นอย่างดี
- การพัฒนาด้านคุณธรรม จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใต้บังคับบัญชา ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ประพฤติตนเป็นตัวอย่างแก่สังคมด้วยความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน เที่ยงตรงและเสียสละ
- การพัฒนาด้านความเป็นผู้นำ มีดังนี้
1) มีความเฉลียวฉลาดในการวิเคราะห์ปัญหา หรือวิเคราะห์สัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่ซับซ้อนได้ รวมทั้งความสามารถในการรับรู้ การติดต่อสื่อสาร การจูงใจให้บุคคลอื่นเชื่อถือได้
2) มีวุฒิภาวะทางสังคม สนใจเรื่องทั่ว ๆ ไปอย่างกว้างขวางและต้องมีความมั่นคงทางอารมณ์ไม่หวั่นไหวง่าย
3) มีความอดทนต่อภาวะคับข้องใจได้สูง ไม่มีทัศนคติเป็นปฏิปักษ์ต่อสังคมหรือองค์กร และมีความเชื่อมั่นในตนเอง เคารพตนเองและผู้อื่น ใช้วิถีชีวิตแบบวิถีประชาธิปไตย
4) มีมนุษยสัมพันธ์ โดยต้องตระหนักอยู่เสมอว่าจะทำงานให้สำเร็จได้อย่างไร โดยพึ่งพาบุคคลอื่น และต้องใช้ระบบประชาธิปไตย คือ ไว้เนื้อเชื่อใจทีมงาน ทำงานอย่างมีส่วนร่วมและมีความยืดหยุ่นสูงปรับตัวเข้าได้กับทุกสถานการณ์
ความรู้ในการบริหาร
การบริหาร คือ การนำทฤษฎีสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ โดยมีการวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ การจัดการ การดำเนินงานตามแผนและมีการควบคุมดูแลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งต้องคำนึงถึงทรัพยากร บุคลากรในองค์กรที่มีอยู่การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การบริหารที่เป็นศาสตร์ คือ การบริหารที่มีการจัดการที่เป็นระบบ มีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจากการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ในการบริหารจึงทำให้เป็นการบริหารเป็นศาสตร์ และการบริหารที่เป็นศิลป์ คือ การบริหารในลักษณะของการปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสมารถ ประสบการณ์ และทักษะของผู้บริหารที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย การประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปปรับปรุงใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม การบริหารจึงมีลักษณะเป็นศิลป์ ปัจจัยพื้นฐานทางการบริหารมี 4 อย่าง ที่เรียกว่า 4Ms ได้แก่ คน (Man) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ(Materials) และ การจัดการ (Management)
การบริหารเป็นกระบวนการทางสังคมที่สามารถมองเห็นได้ 3 ทางคือ
1. ทางโครงสร้าง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ตามลำดับขั้นตอน
ของสายการบังคับบัญชา
2. ทางหน้าที่ เป็นขั้นตอนของหน่วยงานที่ระบุหน้าที่ บทบาท ความรับผิดชอบและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้สำเร็จเป้าหมาย
3. ทางปฏิบัติ เป็นกระบวนการที่บุคคลและบุคคลต้องการร่วมทำปฏิกิริยาซึ่งกันและกัน
ลักษณะเด่นที่เป็นสากลของการบริหาร คือ
1. การบริหารต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย
2. ต้องอาศัยปัจจัยบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญ
3. ต้องใช้ทรัพยากรบริหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน
4. ต้องมีลักษณะการดำเนินการเป็นกระบวนการทางสังคม
5. ต้องเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างกลุ่มบุคคล 2 คนขึ้นไป
6. ต้องอาศัยร่วมมือร่วมใจเพื่อให้ภารกิจบรรลุวัตถุประสงค์
7. เป็นการร่วมมือดำเนินการอย่างมีเหตุผล
8. มีลักษณะเป็นการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
9. การบริหารไม่มีตัวตน แต่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
หลักการบริหารที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่
-
การบริหารที่มีผู้บริหารเพียงคนเดียวในองค์กร
-
มีการกำหนดมาตรฐานการทำงานที่ชัดเจน
-
มีเอกภาพในการบังคับบัญชา
-
มีการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้แก่ผู้ร่วมงาน
-
มีการแบ่งฝ่ายงานและบุคลกรผู้รับผิดชอบให้แก่ผู้ร่วมงานให้เฉพาะเจาะจงขึ้น
-
มีการกำหนดมาตรฐานการทำงานที่ชัดเจน
-
มีการมอบหมาย การควบคุมดูแลที่เหมาะสม
-
มีการเปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ในองค์กรได้
-
สามารถทำให้คนในองค์กรเกิดความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย
-
มีการยอมรับนโยบายส่วนบุคคลที่มีความสามารถ
-
มีการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งส่วนบุคคลและองค์การ
ผู้บริหาร เป็นผู้มีหน้าที่ในการบริหารงาน เป็นบุคคลในระดับบังคับบัญชา จึงเป็นผู้มีเกียรติโดยมีฐานะคือตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญในหน่วยงานหรือองค์กร บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร มีขอบเขตที่ต้องปฏิบัติพอสรุปได้ดังนี้
1. เป็นผู้บริหาร ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกลุ่มที่อยู่ในองค์กรหรือหน่วยงานให้ปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ผู้บริหารต้องคอยอำนวยความสะดวก แก้ปัญหาซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในองค์กร
2. เป็นผู้วางแผน คือ ทำหน้าที่ในการวางแผนงานต่าง ๆ ในองค์กรให้ฝ่ายปฏิบัตินำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย ผู้บริหารจะต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยกำหนดให้ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมได้
4. เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญและชำนาญ มีความสามารถให้คำแนะนำปรึกษา ช่วยเหลือ เมื่อฝ่ายปฏิบัติการต้องการ
5. เป็นตัวแทนติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกคือทำหน้าที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานที่จะออกไปสัมพันธ์กับหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกในนามขององค์กร
6. เป็นผู้ควบคุม คือ ส่งเสริมความสัมพันธ์ด้วยวิธีต่าง ๆ ให้สมาชิกมีขวัญกำลังใจ มีความสามัคคีระหว่างกันในกลุ่มให้มากที่สุด เพื่อการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่นบรรลุจุดหมาย
7. เป็นผู้ให้คุณให้โทษ คือ การพิจารณาความดีความชอบ การให้รางวัลแก่บุคลากรในองค์กรและการลงโทษ ในกรณีที่เกิดความบกพร่องซึ่งจะต้องพิจารณาอย่างยุติธรรมที่สุด
8. เป็นบุคคลตัวอย่าง เป็นผู้ได้รับการยกย่องในความดีความงามทั้งจากบุคลากรภายในและภาย นอกองค์กร
9. เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม คือ เป็นศูนย์รวมของสมาชิกทุกคนในองค์การ เป็นตัวแทนของสมาชิกทุกคนที่ช่วยให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่สมาชิก
10. เป็นตัวแทนรับผิดชอบ ผู้บริหารจะต้องรับผิดชอบกิจการหรือกิจกรรมทั้งหลาย อันอาจเกิด ผลทั้งทางดีและทางบกพร่องซึ่งสมาชิกในองค์การเป็นผู้ปฏิบัติ
11. เป็นผู้มีอุดมคติ ปฏิบัติตนเพื่อสร้างความศรัทธาแก่สมาชิก เป็นผู้มีความดีงามปฏิบัติภารกิจอย่างมีอุดมการณ์ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
12. เป็นผู้อาวุโส คือการวางตนอย่างเหมาะสม เป็นที่เคารพนับถือของสมาชิกในองค์กรวางตนเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมจะช่วยเหลือสมาชิกทุกคนเมื่อมีปัญหาหรือความทุกข์ร้อน
13. เป็นผู้ไกล่เกลี่ยคือเมื่อมีข้อขัดแย้งในหมู่สมาชิกผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยทำให้เกิดความเข้าใจดีต่อกัน ทำให้การปฏิบัติงานไม่เกิดปัญหา
14. เป็นผู้รับผิดแทน คือเมื่อใดที่มีความเสียหายเกิดขึ้นในองค์การผู้บริหารจะต้องเป็นบุคคลแรกที่จะรับโทษในฐานะเป็นผู้นำของสมาชิก
การบริหารอย่างมืออาชีพ
การบริหารงานอย่างมืออาชีพ หมายถึง การบริหารงานด้วยความรู้ ความสามารถ ความตั้งใจจริงและประสบการณ์บริหารงานให้เกิดผลงานดีที่สุด
นักบริหารมืออาชีพ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงาน กิจการต่าง ๆ ให้สำเร็จ โดยอาศัยความรู้ ความสามารถ ของตนเองและความร่วมมือของผู้อื่น
คุณสมบัติของนักบริหารมืออาชีพ
การเป็นนักบริหารมืออาชีพนั้นจำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นที่ยอมรับในระดับพื้นฐานและในระดับสูง ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดความเป็นมืออาชีพได้ ดังนี้
1. คุณสมบัติด้านส่วนบุคคล ได้แก่
- มีความรับผิดชอบสูง
- มีความขยันหมั่นเพียร
- มีความอดทน/อุตสาหะ
- มีความซื่อสัตย์สุจริต
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์/กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีทักษะในการวินิจฉัยสั่งการ
- มีการรักษาระเบียบวินัยที่ดี
- มีความตรงต่อเวลา/การบริหารเวลา
- มีบุคลิกภาพที่ดี
2. คุณสมบัติด้านการศึกษา
นักบริหารมืออาชีพ จะต้องมีความรู้ในด้านการบริหารจัดการ จะต้องมีวิสัยทัศน์กว้าง นักบริหารมืออาชีพจึงต้องใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ศึกษาหาความรู้ จากประสบการณ์และการอบรม เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการ และให้มีความรู้ในด้านระเบียบกฎเกณฑ์ทางราชการ การดำเนินการด้านการเบิกจ่ายงบประมาณ กฎระเบียบทางราชการและของหน่วยงาน เป็นอีกความรู้หนึ่งที่ต้องมีการพัฒนาอบรมเพื่อการริหารงานอย่างเป็นระเบียบ ด้านงบประมาณ ในการบริหารงบประมาณนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับนักบริหารมือ
อาชีพ เนื่องจาก การเงินเป็นปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ การวางแผนงบประมาณ รายรับและรายจ่ายที่ดีจะทำให้การบริหารงานมีความสะดวกคล่องตัวและบรรลุวัตถุประสงค์และสามารถดำเนินกิจกรรมไปตามแผนที่วางไว้ซึ่งจะเป็นหลักประกันในขั้นต้นว่าได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้และได้ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
3. คุณสมบัติที่เป็นด้านประสบการณ์ และผลสำเร็จในการปฏิบัติงานที่ผ่านมา
คุณสมบัติด้านประสบการณ์การทำงานเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถในการบริหารจัดการ ซึ่งประเมินได้จากผลงานและประสบการณ์ที่ผ่านมาในภารกิจหน้าที่ที่จะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติซึ่งจำแนกออกได้ดังนี้ คุณวุฒิ/ประสบการณ์/ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ที่ผ่านมาตามภารกิจหน้าที่กำหนดหรือเกี่ยวข้อง ผลสำเร็จในการปฏิบัติงานในช่วงที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถและงานที่ปฏิบัติจนบรรลุผล ตามแผนการดำเนินงานและแผนพัฒนางาน ฯลฯ ในตำแหน่งหน้าที่ที่จะปฏิบัติงาน
ตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นกำหนดนโยบายระหว่างนโยบายขององค์กร การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและผลงานที่ดี จะทำให้องค์กรสามารถดำเนินไปได้ตามทิศทางขององค์กรได้วางไว้และช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จึงเป็นบุคคลที่ทำให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนอยู่ได้ โดยเป็นผู้มีบทบาทกล่าวคือ
1. เป็นเหมือน Change Agent คือเครื่องส่งสัญญาณที่ต้องส่ง แปลงนโยบายไปสู่ผู้ปฏิบัติ เป็นสื่อกลางในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจในยุทธศาสตร์ขององค์กรให้แก่ผู้ปฏิบัติ
2. เป็นผู้ผลักดันให้เกิดการแปลงแผนและถ่ายทอดยุทธศาสตร์
3. มีบทบาทในการกำกับดูแลที่ดี มุ่งเน้นในเรื่องของธรรมาภิบาล หรือการบริหารจัดการที่ดี โดยจะมีบทบาทในการกำกับ
- จัดให้มีการควบคุมภายในที่ดี
- ประเมินประสิทธิผลการควบคุมภายใน
- สอบทานให้มีการปฏิบัติตามระบบและมาตรฐานการควบคุมภายใน
- ปลูกฝังให้ผู้ปฏิบัติงานมีวินัยและจิตสำนึกที่ดีเกี่ยวกับการควบคุมภายใน
4. เป็นตัวขับเคลื่อนการจัดการความรู้โดยเป็นผู้เชื่อมโยงวิสัยทัศน์เข้ากับความเป็นจริงหรือการปฏิบัติ
การปฏิบัติงานของนักบริหารงานทั่วไปที่มีประสิทธิภาพและผลงานสูงควรให้ความสนใจกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพ โดยวิธีการดังนี้
4.1 ขจัดปัญหาและความยุ่งยากในองค์กร โดยยึดหลักดังนี้
- ศึกษาอย่างละเอียด ถี่ถ้วนก่อนที่จะเสียเวลาไปกับแนวทางปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง
- เลือกต่อสู้ในเรื่องที่เป็นประโยชน์ เพราะหากต่อสู้ในเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์อาจทำให้ความน่าเชื่อถือลดลง
- ทุ่มเทพละกำลังและความสามารถไปยังเป้าหมายที่สำคัญที่สุด เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกกับพนักงาน
- ติดต่อสื่อสารให้มากเพื่อป้องกันการเข้าใจผิด การทำงานซ้ำซ้อน การทำงานที่ขัดแย้งกัน
- วิเคราะห์ปัญหาและหนทางแก้ปัญหา ทำทุกวิถีทางเพื่อทำความเข้าใจและขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นให้หมดไป
- ตั้งคำถามเพื่อค้นหาเป้าหมายและจุดประสงค์ที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใต้คำวิจารณ์และความคิดเห็นของบุคคลอื่น
- ปรับปรุงความสัมพันธ์ที่เคยสูญเสียไปกับเพื่อนร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อลดปัญหาอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารและการปฏิบัติงาน
- เชื่อมั่นในศักยภาพของพนักงานในอันที่จะเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- จัดระเบียบการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- มองโลกในแง่ดี
4.2 เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานในองค์กร ควรเป็นไปเพื่อให้การทำงานสำเร็จลุล่วง ตรงต่อเวลา และเสริมสร้างบรรยากาศในการทำงานเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และความก้าวหน้า โดยมีกลยุทธ์ ดังนี้
- ทำให้พนักงานตระหนักถึงหน้าที่ของตนเอง
- การสื่อสารที่ไม่ซับซ้อน
- สร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดแก่พนักงานให้มากที่สุด
- จัดการอย่างเด็ดขาดกับพนักงานที่ไม่มีผลงานเป็นที่น่าพอใจ
- เลือกคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานมาทำงาน
4.3 พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ เทคนิคที่จะช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ คือ
- ตั้งใจเรียนรู้ ละทิ้งความรู้สึกต่อต้าน
- เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน
- ทำความเข้าใจในความคิดและข้อเสนอแนะของผู้อื่น
- จัดการประชุมเพื่อระดมความคิดและแก้ไขปัญหา
- ขอความช่วยเหลือ
- ปฏิบัติตามแบบอย่างองค์กรที่ประสบความสำเร็จโดยไม่ลืมวิเคราะห์ตัวเอง
การบริหารตนเองให้เป็นคนคุณภาพ
1. การรู้จักตัวตนของตนเอง ว่าตัวตนของเราเป็นอย่างไร มีจุดแข็ง คือ สิ่งที่เราสามารถทำได้ รู้จุดอ่อน หรือสิ่งที่ตนเองขาดและรู้เป้าหมายที่ตนเองต้องการไปสู่
2. พัฒนาตนเองให้เป็นคนคุณภาพ คนคุณภาพต้องประกอบด้วย
- การค้นหาแสวงหาสิ่งใหม่ๆที่เป็นประโยชน์
- มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สามัคคีพร้อมเพรียงกัน
- มีจิตสำนึกและทัศนคติที่จะทำแต่สิ่งที่ดี
- มีความจงรักภักดี รักในองค์กรทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมปรับปรุงองค์กร
- มีไหวพริบ รู้จักคิด
- มีความเชื่อถือ ไว้วางใจเพื่อนร่วมงานและคนรอบข้าง
3. รู้บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองหัวหน้าสำนักงานปลัด อบต.(นักบริหารงานทั่วไป)มีบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบต่อองค์กร ต่อผู้บังคับบัญชา ต่อเพื่อนร่วมงานและต่อตนเอง ดังนี้
- ต่อองค์กร มีความรับผิดชอบต่อผลของงาน ทำความเข้าใจต่องานที่ได้รับมอบหมายและเสนอความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
- ต่อผู้บังคับบัญชา มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ต้องทำงานให้ลุล่วงตามเป้าหมาย กล้าแสดงความคิดเห็น รู้จักวิธีนำเสนองาน ไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัว มีความอดทน ตรงต่อเวลา
ต้องมีความเกรงใจ มีสัมมาคารวะ ให้ความเคารพนับถือ ไม่มีอคติต่อผู้บังคับบัญชา ไม่นินทา มีความสามัคคีและมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ร่วมกันสร้างบรรยากาศในการทำงานได้ มีการปรึกษาหารือเชื่อฟังคำสั่งและปฏิบัติตาม
- ต่อเพื่อนร่วมงาน ไม่เอารัดเอาเปรียบ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการวางแผน มีความสามัคคี มีการแบ่งงานอย่างเท่าเทียมกัน ยุติธรรม มีความจริงใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา รับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน
- ต่อตนเอง มีความตรงต่อเวลา วางแผนการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ รักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ รับผิดชอบต่อครอบครัว ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
การบริหารงานอย่างผู้บริหารมืออาชีพ จะต้องเป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถ เป็นคนเก่ง คือเก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งดำเนินชีวิต
เก่งงาน คือ เข้าใจระบบงาน วิธีการทำงาน ขั้นตอนของาน การแก้ไขปัญหา ปรับปรุงพัฒนางานและมีความสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เก่งคน คือตนเองต้องเป็นผู้นำ เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นนักพัฒนา มีความสามารถในการปฏิสัมพันธ์ มีศิลปะในการปกครอง มีความเข้าใจเรื่องคน พฤติกรรมคน สามารถปรับแต่งพฤติกรรมคนได้ วิเคราะห์คนได้ ใช้คนเป็น
เก่งคิด คือ เป็นนักคิด แก้ไขปัญหา คิดสร้างสรรค์ คิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลง คิดป้องกันปัญหา คิดสร้างสรรค์ผลงาน สร้างภาพลักษณ์องค์กร
เก่งดำเนินชีวิต คือ สร้างชีวิต สร้างครอบครัวให้เป็นสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีในด้านการงานครอบครัว สังคมและตนเอง
การบริหารงานบุคคล
ในฐานะหัวหน้าสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานในส่วนของสำนักงานปลัดมีผู้ใต้บังคับบัญชารับผิดชอบงานด้านบุคลากรขององค์กรทั้งหมด จึงจำเป็นต้องมีความรู้ในด้านการบริหารงานบุคคล ซึ่งการบริหารงานบุคคลนับเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการทางการบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดต่อประสิทธิภาพหรือผลสำเร็จของการปฏิบัติงาน
กระบวนการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย
1. การวางแผนกำลังคน การวางแผนกำลังคนที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ได้บุคลากรที่มีความจำเป็นต่อหน่วยงานทำให้หน่วยงานสามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามแผนงานหรือตามความต้องการของประชาชนไม่เกิดปัญหาคนล้นงาน ไม่ส่งผลกระทบกับภาระค่าใช้จ่ายในระยะยาว
2. การกำหนดตำแหน่ง หมายถึง การกำหนดว่าในแต่ละหน่วยงานซึ่งมีภารกิจที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หน่วยงานนั้นจำเป็นต้องใช้ผู้ปฏิบัติงานในลักษณะใดบ้างแต่ละลักษณะของงานจะต้องใช้บุคลากรเท่าใด ใช้วุฒิการศึกษาด้านใดมีความรับผิดชอบหรือความยากง่ายของงานแต่ละส่วนต้องใช้บุคลากรวุฒิใด ระดับใด เป็นผู้รับผิดชอบการจะกำหนดตำแหน่งได้นั้นต้องมีการวิเคราะห์งานและเขียนคำอธิบายลักษณะงานก่อน จากนั้นจึงกำหนดตำแหน่งให้เหมาะสมกับโครงสร้างที่กำหนด
3. การกำหนดค่าตอบแทน หลักการพื้นฐานของการกำหนดค่าตอบแทนคือ
3.1 ความยุติธรรมและเพียงพอ
3.2 หลักความมั่นคงในการยึดถือเป็นอาชีพ
3.3 หลักการจูงใจ
3.4 หลักการควบคุมให้อยู่ในขอบเขตที่สามารถจ่ายได้ภายใต้งบประมาณที่มีอยู่
4. การสรรหา การสรรหาถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพ เนื่องจากคนดีมีความรู้ความสามารถ มีอุดมการณ์และมีความซื่อสัตย์นั้นย่อมเป็นกำลังสำคัญของหน่วยงานและประเทศชาติ วิธีการสรรหาบุคลากรที่เหมาะสมกับงานนั้น ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการเลือกสรรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจลักษณะงานของตำแหน่งที่จะต้องสรรหาเป็นอย่างดี ว่างานในตำแหน่งนั้นจะต้องปฏิบัติงานอะไรและอย่างไรจากนั้นจึงวิเคราะห์ว่างานลักษณะเช่นนั้นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ตลอดจนบุคลิกภาพอย่างไรจึงจะมีความเหมาะสม แล้วจึงมากำหนดวิธีการต่าง ๆ ในรายละเอียดเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มีคุณสมบัติเช่นนั้น โดยทั่วไปการสรรหาบุคลากรในระบบราชการสามารถปฏิบัติได้ 2 วิธีดังนี้
4.1 การสอบแข่งขัน
4.2 การคัดเลือก
5. การพัฒนาบุคลากร หมายถึง การดำเนินการเสริมสร้างเพิ่มพูนความรู้ทักษะทัศนคติที่ดีตลอดจนการปลูกฝังและเพิ่มพูนคุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ วัตถุประสงค์ของการพัฒนาบุคลากรคือเพื่อพัฒนาความรู้พัฒนาทักษะพัฒนาทัศนคติและเพื่อพัฒนาพฤติกรรมอันพึงประสงค์
วิธีการในการพัฒนาบุคลากร เช่น พัฒนาโดยการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การศึกษาต่อ การพัฒนาตนเองโดยการอ่าน ฟัง สังเกต สอบถามผู้รู้ฯลฯ ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่พัฒนาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทักษะทัศนคติคุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. การเสริมแรงจูงใจ หมายถึง แรงขับหรือพลังที่ผลักดันให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแรงจูงใจของมนุษย์มีทั้งในทางลบและทางบวก แรงจูงใจทางลบ หมายถึงแรงจูงใจที่จะกระทำสิ่งที่ไม่ดีการใช้ความรุนแรงเป็นต้น ส่วนแรงจูงใจทางบวก หมายถึง แรงจูงใจในเชิงสร้างสรรค์การคิดที่จะกระทำในสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยแวดล้อมในการทำงานทั่วไป การบังคับบัญชาสภาพการทำงานทั่วไป ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร ตลอดจนค่าจ้างและความมั่นคงในการทำงานและปัจจัยจูงใจ ได้แก่ เรื่องความสำเร็จของงานงานที่ท้าทายความรู้ความสามารถ การยกย่องนับถือ การเจริญก้าวหน้าในการทำงาน ปัจจัยจูงใจอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆด้วยกัน คือ ปัจจัยจูงใจที่เป็นตัวเงิน เช่น รายได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนต่าง ๆ และปัจจัยจูงใจที่มิใช่เงิน ได้แก่ การยกย่อง การยอมรับ การเลื่อนตำแหน่ง การได้รับมอบหมายงานที่สำคัญเป็นต้น
7. การรักษาวินัยและการดำเนินการทางวินัย วินัย หมายถึง สิ่งที่พึงปฏิบัติแบบอย่างหรือธรรมเนียมการปฏิบัติซึ่งได้รับการยอมรับหรือปฏิบัติสืบต่อกันมา การที่ข้าราชการไม่ปฏิบัติตนอยู่ภายในกรอบแห่งวินัยที่กฎหมายกำหนดย่อมได้รับโทษซึ่งมีระดับที่แตกต่างกันไป
โทษทางวินัยมี 5 สถานแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ได้แก่ โทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนและลดขั้นเงินเดือน ส่วนโทษที่เป็นความผิดวินัยร้ายแรง ได้แก่ โทษปลดออกและไล่ออก
8. การเลื่อนตำแหน่งและการโอนย้าย การเลื่อนตำแหน่งและการโอนย้าย เป็นกระบวนการหนึ่งของการบริหารงานบุคคลของภาครัฐ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องมีกิจกรรมนี้ กรณีของการเลื่อนตำแหน่งนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเสริมสร้างแรงจูงใจ การโอนย้ายเป็นการเปลี่ยนสถานที่หรือหน่วยงานตามความเหมาะสมไปดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกันหรือเทียบเท่าในระดับหรือตำแหน่งที่ไม่สูงไปกว่าเดิม
9. การประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างแรงจูงใจและเป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นในการควบคุมการปฏิบัติงานของข้าราชการ พนักงานทุกระดับ ทั้งนี้เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานของพนักงานมีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีภายใต้กรอบหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บังคับบัญชามีอำนาจหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อประกอบการพิจารณาแต่งตั้งเลื่อนขั้นเงินเดือนพัฒนาพนักงาน เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และมีหน้าที่เสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการหรือพนักงานจ้าง และปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
10. การพ้นจากหน้าที่และการดำเนินการเกี่ยวกับผลประโยชน์ทดแทน เป็นกระบวนการสุดท้ายของการบริหารงานบุคคลการพ้นจากตำแหน่งอาจแยกพิจารณาได้เป็น 4 กรณีดังนี้
10.1 ตาย
10.2 พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ
10.3 ลาออกจากราชการ
10.4 ถูกสั่งให้ออกจากราชการ
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึง กระบวนการหรือกิจกรรมในการสร้างอิทธิพล จูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา
หรือกลุ่ม เพื่อให้เกิดความพยายามในการทำงานร่วมกันโดยให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง
ลักษณะและบทบาทการเป็นผู้นำของข้าพเจ้า
ตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นถือว่าเป็นผู้นำ เป็นผู้บริหารขององค์กร มีหน้าที่กำหนดนโยบาย วางแผนและจัดระเบียบให้งานต่าง ๆ ของ อบต.และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อยซึ่งต้องมีคุณลักษณะและบทบาทในการบริหารงานในการเป็นผู้นำ ดังนี้
1. มีความเฉลียวฉลาด ผู้นำจะต้องมีระดับความรู้และสติปัญญาโดยเฉลี่ยสูงกว่าบุคคลอื่นเพราะผู้นำจะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ บุคคลที่ฉลาดเท่านั้นที่จะสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ได้
2. มีวุฒิภาวะทางสังคมและใจกว้าง คือ มีความสนใจสิ่งต่าง ๆรอบตัวอย่างกว้างขวาง มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ยอมรับสภาพต่าง ๆ ไม่ว่าแพ้หรือชนะไม่ว่าผิดหวังหรือสำเร็จ ผู้นำจะต้องมีความอดทนต่อความคับข้องใจต่าง ๆ พยายามขจัดความรู้สึกต่อต้านสังคมหรือต่อต้านคนอื่นให้เหลือน้อยที่สุดเป็นคนมีเหตุผล เป็นคนเชื่อมั่นในตนเอง และนับถือตนเอง
3. มีแรงจูงใจภายใน ผู้นำจะต้องมีแรงขับที่จะทำอะไรให้เด่น ให้สำเร็จอยู่เรื่อย ๆเมื่อทำสิ่งหนึ่งสำเร็จก็ต้องการที่จะทำสิ่งอื่นต่อไปเมื่อทำสิ่งใดสำเร็จก็จะกลายเป็นแรงจูงใจท้าทายให้ทำสิ่งอื่นให้สำเร็จต่อไปผู้นำจะต้องมีความรับผิดชอบอย่างสูง เพราะความรับผิดชอบจะเป็นบันไดที่ทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จ
4. มีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับมนุษย์สัมพันธ์ ผู้นำที่ประสบความสำเร็จนั้น ต้องยอมรับอยู่เสมอว่างานที่สำเร็จนั้นมีคนอื่นช่วยทำ ไม่ใช่ทำเอง ดังนั้น จึงต้องพัฒนาความเข้าใจและทักษะทางสังคมที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น ผู้นำจะต้องให้ความนับถือผู้อื่นและต้องระลึกอยู่เสมอว่าความสำเร็จในการเป็นผู้นำนั้นขึ้นอยู่กับความร่วมมือกับผู้อื่นและการติดต่อกับบุคคลอื่น ในฐานะที่เป็นผู้นำจะต้องยอมรับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่นและมีความสนใจร่วมกับผู้อื่น
5. เป็นผู้บริหารที่ไม่มากเกินไปในทางใดทางหนึ่ง คือไม่ใช่ผู้นำที่มุ่งแต่งานอย่างเดียว หรือ
มุ่งที่คนอย่างเดียว จะต้องอยู่ตรงกลางระหว่างความมากเกินไปและน้อยเกินไปในเรื่องของความรับผิดชอบงานและการควบคุมงาน การบริหารไม่ได้อาศัยคนใดคนหนึ่งตัดสินใจแต่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องแก้ปัญหาเอง แต่ละปัญหาที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันโดยต้องใช้คนที่มีลักษณะหลากหลาย เพราะทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน
6. เน้นการสร้างให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีความเป็นเลิศในทุกด้าน ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรต้องรับผิดชอบร่วมกันระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน การพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้มีความสามารถรอบด้านก็เพื่อให้คนเหล่านั้นมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการใช้ความรู้ความสามารถที่มีต่อความสำเร็จขององค์กร เมื่อเกิดปัญหาในงานไม่ใช่รายงานไปยังผู้บริหารให้ตัดสินใจ แต่ทุกคนมีภาระร่วมกันในการใช้ความเป็นเลิศแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
7. มอบอำนาจจนพอที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้อำนาจนั้นให้งานสำเร็จในตัว แต่
ขณะเดียวกันก็กำหนดวิธีการควบคุมที่ได้ผล การให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมรับผิดชอบร่วมกับผู้นำ จำเป็นต้องให้อำนาจอย่างเต็มที่ในการตัดสินใจ แต่ก็มีระบบควบคุมที่ทำให้ตรวจสอบได้ว่างานก้าวหน้าไปอย่างไร โดยผู้ปฏิบัติงานมีอิสระในการตัดสินใจ กล่าวคือผู้นำจะมีทั้งความยืดหยุ่นและเข้มงวดในการควบคุมงานไปพร้อม ๆ กัน
8. เน้นคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานที่สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี ขณะเดียวกันความสามารถเฉพาะตัวก็สูงด้วย ทุกคนทำงานโดยมุ่งหมายความสำเร็จส่วนรวมขององค์กร โดยอาศัยความสามารถที่แตกต่าง การสร้างทีมงานจะส่งเสริมพัฒนาคนให้มุ่งสู่เป้าหมายร่วมกันบนรากฐานของความไว้วางใจซึ่งกันและกันองค์กรต้องพร้อมที่จะปรับตัวตลอดเวลาเพื่อความอยู่รอด ข้าพเจ้าในบทบาทผู้นำจึงต้องทำในสิ่งต่อไปนี้ด้วย กล่าวคือ
1. ชี้แนะ ให้คำปรึกษา กำกับดูแล การทำงานก็เหมือนกับทีมฟุตบอลแม้ว่าในแต่ละตำแหน่งจะมีคนเล่นที่มีความสามารถแค่ไหนก็ไม่พอต้องมีคนมองภาพรวมในการเล่นของทีมด้วยว่าช่วงไหนควรรุก ช่วงไหนควรถอยจะปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์อย่างไร
2. เปลี่ยนทัศนคติลึก ๆ ในตัวคนการทำงานเป็นนั้น แต่ละคนต้องลดละอัตตาลงด้วยต้องพร้อมที่จะปรับตัวเองให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ การวางกลยุทธ์เพื่อให้คนทำงานร่วมกัน ผู้บริหารต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ใช้ระยะเวลาและความต่อเนื่องเพื่อไปสู่ทิศทางเดียวกัน
3. ดึงศักยภาพที่มีอยู่โดยไม่ต้องเอาความรู้ข้างนอกมามากนัก
4. ทำให้สถานที่ทำงานเป็นที่รักของพนักงาน
5. Full fill Basic Need ให้คนในองค์กร เช่น ให้ตำแหน่ง ให้ผลประโยชน์ตอบแทนอื่น
ที่คุ้มค่าเพราะคนต้องการการยอมรับเพื่อยอมรับในความสามารถที่พนักงานมี และได้พัฒนาตัวเองขึ้นมา
6. ดึงคนให้หลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัว ทัศนคติต้องเปลี่ยน การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้องค์การเติบโตขึ้น พัฒนาขึ้นความรู้จากภายนอกช่วยได้เพียง 30% อีก 70% ต้องเรียนรู้จากข้างในจึงต้องสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กรสิ่งที่สะท้อนภาพองค์กรที่กำลังจะตายได้อย่างหนึ่งคือองค์กรที่ยึดรูปแบบเต็มไปด้วยกฎระเบียบมากกว่าสาระในสถานการณ์ปัจจุบันการวางแผนงานให้บรรลุเป้าหมายควรต้องมีการทบทวนอย่างน้อยทุก 3 เดือนไม่มากเกินไปจนคนในองค์กรสับสน
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ดีต้องสร้างสรรค์จากภายในองค์กรเอง ด้วยข้อมูลทรัพยากรที่มีอยู่
ผู้บริหารควรศึกษาการวางแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์การอื่นเพื่อเป็นแนวทางแต่ไม่มีแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์การใดที่เป็นเลิศจนเป็นแบบฉบับให้องค์การอื่นได้ดังนั้น “คน” จึงเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินการสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้นำจะต้องทำให้เกิดขึ้นคือความสุขของคนในองค์การ
ค่านิยมสร้างสรรค์
ในการปฏิบัติราชการข้าพเจ้าถือปฏิบัติตาม “ค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่รัฐ” ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการได้จัดทำขึ้น ดังนี้
ประการแรก กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง หมายถึง ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ชอบธรรม รู้จักเสียสละ อดทน ไม่โอนอ่อน หย่อนตามอิทธิพลผลประโยชน์ใด ยึดมั่นในหลักวิชาและจรรยาบรรณวิชาชีพ
ประการที่สอง ซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบ หมายถึง ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา แยกเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การงาน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อประชาชน ต่อผลการปฏิบัติงาน และต่อหน่วยงาน
ประการที่สาม โปร่งใส ตรวจสอบได้ หมายถึง ทำงานอย่างโปร่งใส เปิดโอกาสให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องได้และเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ตามกฎหมาย
ประการที่สี่ ไม่เลือกปฏิบัติ หมายถึง ให้บริการประชาชนด้วยความเสมอภาคด้วยเสมอภาค เน้นความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดถูกต้อง มีน้ำใจ มีความเมตตา และเอื้อเฟื้อต่อผู้รับบริการ
ประการที่ห้า มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน หมายถึง ทำงานโดยยึดผลลัพธ์เป็นหลัก มีการวัดผลลัพธ์และค่าใช้จ่าย ให้งานแล้วเสร็จตามกำหนด ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อให้เกิดผลดีแก่หน่วยงานและส่วนรวม
สำหรับข้าราชการซึ่งเป็นผู้บริหารควรประพฤติปฏิบัติตามค่านิยมสร้างสรรค์ทั้ง 5 ประเภทนี้เป็นแบบอย่างให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ถือเป็นต้นแบบพร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยการนำหลักประพฤติปฏิบัติตามค่านิยมสร้างสรรค์นี้ไปใช้ในการสรรหาบุคคลเข้าทำงานในองค์กร การปฐมนิเทศ การสอดแทรกเข้าไปในหลักสูตรการอบรม การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น การเชิดชูเกียรติผู้ปฏิบัติดีเด่นและใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร เป็นต้น
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
การบริหารที่จะประสบความสำเร็จ บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้นั้น ต้องมีองค์ประกอบการทำงานในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งสิ่งสำคัญพอสรุปเป็นแนวทางได้ ดังนี้
1. การปรับกระบวนทัศน์ใหม่ เพื่อเป็นการสร้างแนวคิดใหม่ๆ จากที่เคยปฏิบัติเดิม คือ การทำงานที่เพิ่มคุณค่าแก่ผู้ปฏิบัติให้ผลของงานมีประสิทธิภาพ การสร้างข้าราชการยุคใหม่ เสริมสร้างศักดิ์ศรี คุณธรรม ความซื่อสัตย์ การปฏิบัติงานเชิงรุก หมั่นขวนขวายพัฒนาตนเอง ปฏิบัติงานด้วยใจเป็นธรรม เรียนรู้และปรับตัวให้ทันโลกของการเปลี่ยนแปลง มีการวัดผลและรับผิดชอบต่องานและต่อสาธารณะ มีความเป็นประชาธิปไตย เน้นการมีส่วนร่วมและโปร่งใส ยึดถือระเบียบ กฎหมายและสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์
2. การสร้างค่านิยมสร้างสรรค์และมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงานซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นแนวทางในการให้บริการที่ดีและสร้างความเป็นเลิศแก่องค์กร และหลักสำคัญที่เป็นแนวนโยบายแห่งรัฐที่จะทำให้ประชาชนเกิดความสุข สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน คือ การบริหารตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
3. การวางแนวทางการพัฒนาของ อบต. จะต้องให้ครอบคลุมทุกด้าน เช่น
- ด้านการพัฒนาบุคลากร การสร้างค่านิยมและมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม
- ด้านการพัฒนาองค์กร เช่น การจัดสำนักงานตามหลัก 5 ส. เพื่อความพร้อมในการให้บริการแก่ประชาชน
- ด้านเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่สะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและประหยัดทรัพยากรในการทำงาน
- ด้านความรู้ ความสามารถและขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเสริมสร้างงานที่มีประสิทธิภาพและความพึงพอใจ
- ด้านการพัฒนาท้องถิ่น ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม
- ด้านการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายการทำงาน
ฉะนั้น การทำงานที่จะประสบความสำเร็จได้ดีย่อมขึ้นอยู่กับการปรับตัว การขวนขวายหาความรู้ การพัฒนาตนเอง หาประสบการณ์ใหม่และสร้างหลักในการทำงาน รู้องค์ประกอบของการทำงานและสร้างกระบวนการทำงานที่ดี เหล่านี้จะทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง
|