Background



ข่าวประชาสัมพันธ์
ประชาคมอาเซียน
30 ตุลาคม 2556

1223


ประชาคมอาเซียน      smiley

อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ, ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

อาเซียน ได้ก่อตั้งขึ้นโดย ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศคือ

1.ไทย โดย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
2.สิงคโปร์ โดย นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
3.มาเลเซีย  โดย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ)
4.ฟิลิปปินส์ โดย นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
5.อินโดนีเซีย โดย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศ)

ต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเติม คือ  8 ม.ค.2527 บรูไนดารุสซาลาม, 28 ก.ค. 2538  เวียดนาม, 23 ก.ค. 2540 สปป.ลาว และ พม่า, 30 เม.ย. 2542 กัมพูชา ทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

 

คำขวัญอาเซียน คือ หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)

 

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน
          วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่ง สันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคม และ วัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก โดยแบ่งออก เป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
        1. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
        2. เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
        3. เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
        4. เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
        5. เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
        6. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
        7. เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

สัญลักษณ์ของอาเซียน 
         สัญลักษณ์ของอาเซียนนั้น เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้มานานตั้งแต่ก่อตั้ง ประกอบไปด้วยรูปรวงข้างสีเหลืองจำนวน 10 ต้น บน พื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน โดยมีความหมายว่าดังนี้...
         รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
         สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง
         สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
         สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์
         สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง
 

ประชาคมอาเซียน

        ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ

 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
           ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)

ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States) 10 ประเทศ

 

1.ประเทศ เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
         การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์
         ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
         เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน
         ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ
         หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์

 
   

2.ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
        การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
        ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
         เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
         ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
         หน่วยเงินตรา : เรียล

3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
         การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย
         ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
         เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
         ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย
         หน่วยเงินตรา : รูเปียห์

 

 4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
         การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
         ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
         เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
         ภาษาราชการ : ภาษาลาว
         หน่วยเงินตรา : กีบ

 

5.มาเลเซีย : Malaysia
         การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
         ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
         เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
         ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
         หน่วยเงินตรา : ริงกิต

 

6. สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar
          การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
         ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง
         เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
         ภาษาราชการ : ภาษาพม่า
         หน่วยเงินตรา : จั๊ต

 

7.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
         การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
         ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
         เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
         ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
         หน่วยเงินตรา : เปโซ

 

 8.สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
         การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
         ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม
         เมืองหลวง : สิงคโปร์
         ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ
         หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์

 

 
   

9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam
         การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
         ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
         เมืองหลวง : กรุงฮานอย
         ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
         หน่วยเงินตรา : ด่อง

 

10.ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
         การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
          ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
         เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
         ภาษาราชการ : ภาษาไทย
         หน่วยเงินตรา : บาท