1088
แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว 4 ปี
(พ.ศ. 256๒ – 256๕)
จัดทำโดย
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
เรื่อง แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว 4 ปี
(พ.ศ. 2561 – 2564)
********************************
ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 69/2557 เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบได้กำหนดให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐกำหนดมาตรการ หรือแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ โดยมุ่งเน้นการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการตรวจสอบเฝ้าระวัง เพื่อสกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบได้ ประกอบกับนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ก็ได้กำหนดให้มีการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของ รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 เห็นชอบยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560-2564) และให้หน่วยงานภาครัฐแปลงแนวทางและมาตรการตามยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติฯ กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 2 “ยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต”
ดังนั้น เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ฯ ให้เกิดเป็นรูปธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว จึงแสดงเจตจำนงในการต่อต้านการทุจริตด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว 4 ปี (พ.ศ.2561 – 2564) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตต่อไป องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวจึงประกาศใช้แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว 4 ปี (พ.ศ.2561 – 2564) รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศฉบับนี้
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2560
(นายนพดล นงเกษม)
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
คำนำ
จากสถานการณ์การทุจริตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง และบทเรียนที่ได้รับจากการแปลงยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่ผ่านมา สู่การปฏิบัติ จึงมีการริเริ่มแนวคิดในการปรับปรุงยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและสถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน โดยจะต้องตอบโจทย์ต่อปัญหาหรือสถานการณ์การทุจริตที่ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ต้องเผชิญอยู่จริง และเพื่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมาตรฐานความโปร่งใสเทียบเท่าสากล ภายใต้วิสัยทัศน์ : ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต (Zero Tolerance & Clean Thailand) ประเทศไทยในระยะ ๕ ปีข้างหน้า จะมุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีมาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรม เป็นสังคมมิติใหม่ที่ประชาชนไม่เพิกเฉยต่อการทุจริตทุกรูปแบบ โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายการเมือง หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนประชาชนในการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติและประชาชน เพื่อให้ประเทศไทยมีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในด้านความโปร่งใสทัดเทียมนานาอารยประเทศ
ดังนั้น เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ฯ ให้เกิดเป็นรูปธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว จึงแสดงเจตจำนงในการต่อต้านการทุจริต ด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว 4 ปี (พ.ศ.256๒ – 256๕) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวต่อไป
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
สารบัญ
เรื่อง หน้า
ส่วนที่ 1 บทนำ
การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดการทุจริตในองค์กร ๑
หลักการและเหตุผล 1
วิสัยทัศน์ 2
พันธกิจ 2
วัตถุประสงค์การจัดทำแผน ๓
เป้าหมาย 3
ประโยชน์ของการจัดทำแผน 3
ส่วนที่ 2 แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
มิติที่ 1 การสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ๔
มิติที่ 2 การบริหารราชการเพื่อป้องกันการทุจริต ๖
มิติที่ 3 การส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของประชาชน ๙
มิติที่ 4 การเสริมสร้างและปรับปรุงกลไกในการตรวจสอบ ๑๒
ส่วนที่ ๓ รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม/มาตรการ ตามแผนปฏิบัติการฯ ๑๔
ภาคผนวก
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว 4 ปี
(พ.ศ. 256๒ – 256๕)
......................................
ส่วนที่ ๑
บทนำ
การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดการทุจริตในองค์กร
ตามที่ประเทศไทยได้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในรูปแบบระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกระจายอำนาจทางปกครองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำบริการสาธารณะบางอย่างแทนราชการส่วนกลาง โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้จะมีความเป็นอิสระและไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของราชการส่วนกลาง แต่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของราชการส่วนกลางเท่านั้น หลักการกระจายอำนาจทางปกครองทำให้การจัดทำบริการสาธารณะรวดเร็ว มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพทางการบริหารราชการมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะอันเป็นการส่งเสริมการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยด้วย
องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒ และที่ได้รับการกระจายอำนาจปกครองทางพื้นที่ที่รัฐบาลส่วนกลางถ่ายโอนภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะบางส่วนมาให้ดำเนินการในพื้นที่หรืออาณาเขตขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ
ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทอื่นเป็นองค์กรหลักในการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน และเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมและพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยให้แก่ประชาชน แต่ที่ผ่านมาองค์การบริหารส่วนตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทอื่น มุ่งเน้นภารกิจในการจัดทำการบริการสาธารณะเป็นหลัก โดยละเลยภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนอย่างจริงจัง ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะหรือการติดตามควบคุมการจัดทำบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทอื่น ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทอื่นในฐานะหน่วยงานจัดทำบริการสาธารณะกับประชาชนในฐานะผู้รับบริการสาธารณะตามมา ซึ่งช่องว่างเหล่านี้อาจนำไปสู่การกระทำทุจริตขององค์การบริหารส่วนตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทอื่นในการจัดทำบริการสาธารณะได้ในอนาคต
หลักการเหตุผล
ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 69/2557 เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบได้กำหนดให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐกำหนดมาตรการ หรือแนวทางการ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ โดยมุ่งเน้นการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการตรวจสอบเฝ้าระวัง เพื่อ สกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบได้ ประกอบกับนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ก็ได้กำหนดให้มีการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติ
-2-
มิชอบในภาครัฐ เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของ รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 เห็นชอบยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560-2564) และให้หน่วยงานภาครัฐแปลงแนวทางและมาตรการตามยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติฯ กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 2 “ยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต”
ดังนั้น เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ฯ ให้เกิดเป็นรูปธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว จึงแสดงเจตจำนงในการต่อต้านการทุจริต ด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว 4 ปี (พ.ศ.256๒ – 256๕) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวต่อไป และเพื่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมาตรฐานความโปร่งใสเทียบเท่าสากล ภายใต้วิสัยทัศน์ : ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต (Zero Tolerance & Clean Thailand) ประเทศไทยในระยะ ๕ ปีข้างหน้า จะมุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีมาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรม เป็นสังคมมิติใหม่ที่ประชาชนไม่เพิกเฉยต่อการทุจริตทุกรูปแบบ โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายการเมือง หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนประชาชนในการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติและประชาชน เพื่อให้ประเทศไทยมีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในด้านความโปร่งใสทัดเทียมนานาอารยประเทศ
วิสัยทัศน์
“องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวโปร่งใส บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ต้านการทุจริต”
พันธกิจ ( Mission )
1. เสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยม ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้กับเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวตามหลักธรรมาภิบาล
2. บูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อเสริมสร้าง และพัฒนาเครือข่ายด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
3. ส่งเสริมบทบาทภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
4. สร้างกลไกและพัฒนาระบบการตรวจสอบ ถ่วงดุลการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ
5. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการองค์ความรู้ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์การจัดทำแผน
1. เพื่อยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
2. เพื่อยกระดับจิตสำนึกรับผิดชอบในผลประโยชน์สาธารณะของผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นและพนักงานส่วนตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวรวมถึงประชาชนในตำบลเขาขาว
3. เพื่อให้การบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
-3-
4. เพื่อส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมและตรวจสอบของภาคประชาชนในการบริการกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
5. เพื่อพัฒนาระบบ กลไกล มาตรการ รวมถึงเครือข่ายในการตรวจสอบการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวที่มีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง
เป้าหมาย
๑. ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น บุคลากรขององค์การบริการส่วนตำบลเขาขาว และประชาชนในพื้นที่มีจิตสำนึกและความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้บังเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน ปราศจากการก่อให้เกิดข้อสงสัยในการประพฤติปฏิบัติตามมาตรการจริยธรรม การขัดกันแห่งผลประโยชน์และแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
๒. เครื่องมือ/มาตรการการปฏิบัติงานที่สามารถป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการ
๓. โครงการ/กิจกรรม/มาตรการที่สนับสนุนให้สาธารณะและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่หรือบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
๔. กลไกล มาตรการ รวมถึงเครือข่ายในการตรวจสอบการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวที่มีความเข้มแข็งในการตรวจสอบ ควบคุมและถ่วงดุลการใช้อำนาจอย่างเหมาะสม
๕. องค์กรบริหารส่วนตำบลเขาขาวมีแผนงานที่มีประสิทธิภาพ ลดโอกาสในการกระทำทุจริตและประพฤติมิชอบจนเป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วน
ประโยชน์ของการจัดทำแผน
1. เป็นกลไกและเครื่องมือที่สำคัญในการป้องกันการทุจริตที่จะเกิดขึ้นในองค์กรส่งผลให้การบริหารงานมีความโปร่งใส
2. จัดทำบริการสาธารณะแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและลดปัญหาการทุจริตได้
3. ก่อให้เกิดความเชื่อมั่น ความพึงพอใจ และศรัทราของประชาชนต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
4. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวจัดทำแผนป้องกันการทุจริตและนำไปสู่การปฏิบัติแล้วจะส่งผลถึงระดับคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA )ด้วย
ส่วนที่ ๒
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว 4 ปี
(พ.ศ. 256๒ – 256๕)
มิติ |
ภารกิจตามมิติ |
โครงการ/กิจกรรม/มาตรการ |
ปี 256๒ |
ปี 256๓ |
ปี 256๔ |
ปี 256๕ |
หมายเหตุ |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
||||
1. การสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต |
1.1 สร้างจิตสำนึกและความตระหนักแก่บุคลากรทั้งข้าราชการการเมืองฝ่ายบริหาร ข้าราชการฝ่ายการเมืองฝ่ายสภาท้องถิ่น และฝ่ายประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
๑.๑.๑ โครงการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ๑.๑.๒ โครงการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ ๑.๑.๓ มาตรการ “ส่งเสริมการปฏิบัติงานตามประมวลจริยธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ๑.๑.๔ โครงการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน อบรมเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ๑.๑.๕ โครงการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชน ๑.๑.๖ โครงการจัดทำแผนพัฒนาของ อบต.เขาขาว |
๕0,000
-
-
๑0,000
๑0,000 |
๕0,000
-
-
๑0,000
๑0,000 |
๕0,000
-
-
๑0,000
๑0,000 |
๕0,000
-
-
๑0,000
๑0,000 |
|
|
1.2 สร้างจิตสำนึกและความตระหนักแก่ประชาชนทุกภาคส่วนในท้องถิ่น |
๑.๒.๑ โครงการสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการต่อต้านการทุจริต ๑.๒.๒ โครงการส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แหล่งท่องเที่ยว พัฒนา และปรับปรุงภูมิทัศน์ในชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ๑.๒.๓ โครงการส่งเสริมครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง ๑.๒.๔ โครงการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ๑.๒.๕ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ๑.๒.๖ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้ง ๑.๒.๗ โครงการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ |
10,000
๑0,000
๕0,000
๕0,000
๓0,000 ๒0,000
๑0,000 |
10,000
๑0,000
๕0,000
๕0,000
๓0,000 ๒0,000
๑0,000 |
10,000
๑0,000
๕0,000
๕0,000
๓0,000 ๒0,000
๑0,000 |
10,000
๑0,000
๕0,000
๕0,000
๓0,000 ๒0,000
๑0,000 |
|
-5-
มิติ |
ภารกิจตามมิติ |
โครงการ/กิจกรรม/มาตรการ |
ปี 256๒ |
ปี 256๓ |
ปี 256๔ |
ปี 256๕ |
หมายเหตุ |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
||||
|
|
๑.๒.๘ โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และแปลงสาธิตทางการเกษตรแบบผสมผสาน ๑.๒.๙ โครงการส่งเสริมการเพาะเห็ดปลอดสารพิษ ๑.๒.๑๐ โครงการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ |
๑0,000
๑0,000
๑0,000 |
๑0,000
๑0,000
๑0,000 |
๑0,000
๑0,000
๑0,000 |
๑0,000
๑0,000
๑0,000 |
|
|
1.3 สร้างจิตสำนึกและความตระหนักแก่เด็กและเยาวชน |
๑.๓.๑ โครงการคุณธรรมสานสายใยครอบครัว ๑.๓.๒ โครงการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้เด็กและเยาวชน (กิจกรรม “โตไปไม่โกง”) ๑.๓.๓ กิจกรรมส่งเสริมสภาเด็กเยาวชนต่อต้านการทุจริต ๑.๓.๔ โครงการยาวชนสัมพันธ์ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการยุวเกษตร ๑.๓.๕ โครงการชีววิถีแบบพอเพียง ๑.๓.๖ โครงการฝึกอาชีพให้แก่เยาวชน
|
๑0,000
๑0,000
๑0,000
๑0,000
๑0,000
๑0,000 |
๑0,000
๑0,000
๑0,000
๑0,000
๑0,000
๑0,000 |
๑0,000
๑0,000
๑0,000
๑0,000
๑0,000
๑0,000 |
๑0,000
๑0,000
๑0,000
๑0,000
๑0,000
๑0,000 |
|
|
รวม |
จำนวน ๒๒ โครงการ/กิจกรรม |
๓๔๐,๐๐๐ |
๓๔๐,๐๐๐ |
๓๔๐,๐๐๐ |
๓๔๐,๐๐๐ |
|
-๖-
มิติ |
ภารกิจตามมิติ |
โครงการ/กิจกรรม/มาตรการ |
ปี 256๒ |
ปี 256๓ |
ปี 256๔ |
ปี 256๕ |
หมายเหตุ |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
||||
2. การบริหารราชการเพื่อป้องกันการทุจริต |
2.1 แสดงเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหาร |
มาตรการแสดงเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต กิจกรรมประกาศเจตจำนงต่อต้านการทุจริตของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
- |
- |
- |
- |
|
2.2 มาตรการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ |
๒.๒.๑ (๑) มาตรการการสร้างความโปร่งใสในการบริหารงานบุคคล (ถือปฏิบัติตามระเบียบ) ๒.๒.๑(๒) มาตรการออกคำสั่งมอบหมายของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหัวหน้าส่วนราชการ มาตรการออกคำสั่งมอบหมายงานของนายกฯ ปลัด ผู้อำนวยการกอง/หัวหน้าส่วนและพนักงานส่วน ตำบล ๒.๒.๑(๓) กิจกรรมสร้างความโปร่งใสในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ๒.๒.๒ (๑) มาตรการสร้างความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ กิจกรรมควบคุมการเบิกจ่ายเงินตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒.๒.๒(๒) กิจกรรม “การพัฒนาแผนและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง” กิจกรรมการพัฒนาแผนและกระบวนการจัดหาพัสดุ ๒.๒.๒(๓) กิจกรรมสร้างความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ๒.๒.๒(๔) โครงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ๒.๒.๓ (๑) มาตรการยกระดับคุณภาพการบริการประชาชน |
-
-
-
-
-
-
-
-
|
-
-
-
-
-
-
-
-
|
-
-
-
-
-
-
-
- |
-
-
-
-
-
-
-
-
|
|
-๗-
มิติ |
ภารกิจตามมิติ |
โครงการ/กิจกรรม/มาตรการ |
ปี 256๒ |
ปี 256๓ |
ปี 256๔ |
ปี 256๕ |
หมายเหตุ |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
||||
|
2.3 มาตรการใช้ดุลยพินิจและใช้อำนาจหน้าที่ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี |
2.3.1 กิจกรรมการจัดบริการสาธารณะและการบริการประชาชนเพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ประชาชนโดยทัดเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติ ๒.๓.๒ มาตรการการมอบอำนาจอนุมัติ อนุญาต สั่งการ เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ กิจกรรมการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ๒.๓.๓ โครงการลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ ๒.๓.๔ มาตรการการออกคำสั่งมอบหมายของนายฯ ปลัด ผู้อำนวยการกอง/หัวหน้าส่วน |
-
-
-
-
|
-
-
-
- |
-
-
-
- |
-
-
-
- |
|
2.4 การเชิดชูเกียรติแก่หน่วยงานบุคคลในการดำเนินกิจการ ความประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นที่ประจักษ์ |
2.4.1 ยกย่องเชิดชูเกียรติหน่วยงาน/บุคคลที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม ๒.๔.๒ กิจกรรมเชิดชูเกียรติบุคคลที่ช่วยเหลือกิจการสาธารณะหรือมีจิตสาธารณะ - โตไปไม่โกง 2.4.๓ ยกย่องเชิดชูเกียรติที่ให้ความช่วยเหลือกิจการสาธารณะของท้องถิ่น - กิจกรรมวันพัฒนาท้องถิ่น 2.4.๔ ยกย่องเชิดชูเกียรติที่ดำรงตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง - กิจกรรมเครือข่ายวินัย - อาสาสมัคร/วิทยากรฐานการเรียนรู้ศูนย์ปรัชญา ศก.พอเพียง
|
-
-
-
-
|
-
-
-
-
|
-
-
-
-
|
-
-
-
-
|
|
-๘-
มิติ |
ภารกิจตามมิติ |
โครงการ/กิจกรรม/มาตรการ |
ปี 256๒ |
ปี 256๓ |
ปี 256๔ |
ปี 256๕ |
หมายเหตุ |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
||||
|
2.5 มาตรการจัดการในกรณีได้ทราบ หรือรับแจ้ง หรือตรวจสอบพบการทุจริต |
2.5.1 ดำเนินการให้มีข้อตกลงระหว่างบุคลากรในองค์กรได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมจริยธรรมและบริหารราชการกิจการบ้านเมืองที่ดี - จัดทำข้อตกลงการปฏิบัติราชการ 2.5.2 ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ จังหวัด อำเภอที่ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อการตรวจสอบ ควบคุม ดูแลการปฏิบัติราชการของ อปท. - มีแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต - รับการประเมิน ตรวจสอบจากหน่วยงานกำกับดูแล 2.5.3 ดำเนินการให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กรณีมีเรื่องร้องเรียนกล่าวหาบุคลากรใน อปท.ที่ปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่โดยมิชอบ - มีขั้นตอนการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเหมาะสม - ติดตาม ตรวจสอบผู้กระทำผิดการทุจริตอย่างมีประสิทธิภาพ |
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
|
|
รวม |
จำนวน ๑๙ โครงการ/กิจกรรม |
|
|
|
|
|
-๙-
มิติ |
ภารกิจตามมิติ |
โครงการ/กิจกรรม/มาตรการ |
ปี 256๒ |
ปี 256๓ |
ปี 256๔ |
ปี 256๕ |
หมายเหตุ |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
||||
3. การส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน |
3.1 จัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในช่องทางที่เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนได้มีส่วนร่วมตรวจสอบการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ของ อปท.ได้ทุกขั้นตอน |
3.1.1 มาตรการ “ปรับปรุงและพัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว” 3.1.2 มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การเงิน การจัดหาพัสดุ การคำนวณราคากลาง รายงานผลการปฏิบัติงานที่ อปท.ต้องเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ - ประกาศแผนจัดหาพัสดุหรือการจัดซื้อจัดจ้าง - เปิดเผยผลการจัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชนทราบ - ผลการประเมินการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลของภาคประชาชน 3.1.3 มีการประกาศ เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการที่เป็นประโยชน์กับการมีส่วนร่วมตรวจสอบของประชาชน - เผยแพร่ข้อมูลการให้บริการต่าง ๆ กฎเกณฑ์ ระเบียบกฎหมาย ข้อบังคับและสถานที่ให้บริการอย่างชัดเจน |
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
- |
|
3.2 การรับฟังความคิดเห็นการรับแลตอบสนองเรื่อร้องเรียน/ร้องทุกข์ของประชาชน |
3.2.1 มาตรการกำกับติดตามการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ของ อปท. โดยเฉพาะการดำเนินกิจการที่จะมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ และสุขอนามัยของประชาชนในท้องถิ่น - จัดประชุมประชาคมเพื่อจัดทำข้อบัญญัติ/ปรับปรุงข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
|
-
|
- |
- |
- |
|
-1๐-
มิติ |
ภารกิจตามมิติ |
โครงการ/กิจกรรม/มาตรการ |
ปี 256๒ |
ปี 256๓ |
ปี 256๔ |
ปี 256๕ |
หมายเหตุ |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
||||
|
|
3.2.2 มีช่องทางให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถร้องเรียน/ร้องทุกข์ได้โดยสะดวก - กำหนดช่องทางร้องเรียนและขั้นตอน/กระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียน - การประกาศเผยแพร่/ขั้นตอนร้องเรียน - มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนที่เหมาะสมและสะดวก เช่น มีกล่องรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่สำนักงาน/ที่ทำการกำนันผู้ใหญ่บ้าน/ร้านสะดวกซื้อ 3.2.3 มีรายงานหรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ประชาชน ผู้ร้องเรียน/ร้องทุกข์ได้ทราบถึงการได้รับเรื่อง ระยะเวลาและแจ้งผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ - การแก้ไขข้อร้องเรียนอย่างเหมาะสม - การแจ้งผลเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียนให้ผู้ร้องทราบภายใน 15 วัน - มีระบบการแจ้งเบาะแสการทุจริต - เปิดช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนการทุจริต
|
-
-
|
-
-
|
-
- |
-
- |
|
-1๑-
มิติ |
ภารกิจตามมิติ |
โครงการ/กิจกรรม/มาตรการ |
ปี 256๒ |
ปี 256๓ |
ปี 256๔ |
ปี 256๕ |
หมายเหตุ |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
||||
|
3.3 การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
3.3.1 ดำเนินการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนา การจัดทำงบประมาณ - แต่งตั้งเป็นกรรมการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล - การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงาน/โครงการ - การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นการปฏิบัติราชการ - การมีส่วนร่วมดำเนินตามโครงการ 3.3.2 ดำเนินการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดหาพัสดุ - เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในจัดหาพัสดุ 3.3.3 ดำเนินการให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน - แต่งตั้งเป็นกรรมการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล - การมีส่วนร่วมตรวจสอบติดตามประเมินผลโครงการ - การมีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขโครงการ
|
- |
- |
- |
- |
|
|
รวม |
จำนวน ๙ โครงการ/กิจกรรม |
|
|
|
|
|
-1๒-
มิติ |
ภารกิจตามมิติ |
โครงการ/กิจกรรม/มาตรการ |
ปี 256๒ |
ปี 256๓ |
ปี 256๔ |
ปี 256๕ |
หมายเหตุ |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
||||
4. การเสริมสร้างและปรับปรุงกลไกในการตรวจสอบการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
4.1 มีการจัดวางระบบและรายงานการควบคุมภายในตามที่คณะกรรม การตรวจเงินแผ่นดิน |
4.1.1 มีการจัดทำและรายงานการจัดทำระบบควบคุมภายในให้ผู้กำกับดูแล - กลุ่มงานตรวจสอบภายใน/ควบคุมภายในมีการทำงานเป็นอิสระ - ระบบการควบคุมภายในสามารถตรวจสอบ ยับยั้ง ป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.2 มีการติดตามประเมินระบบควบคุมภายใน โดยดำเนินการให้มีการจัดทำแผนการปรับปรุงหรือบริหารความเสี่ยง และรายงานผลการการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงควบคุมภายในให้ผู้กำกับดูแล - มีระบบป้องกันหรือตรวจสอบการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ - มีการนำผลการประเมินตรวจสอบภายในไปปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันการทุจริต - รับรู้ถึงแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตได้เป็นอย่างดี
|
- |
- |
- |
- |
|
|
4.2 การสนับสนุนให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบการปฏิบัติ หรือการบริหารราชการตามช่องทางที่สามารถดำเนินการได้ |
4.2.๑ ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบ กำกับ ดูแลการจัดหาพัสดุ ภายใต้ระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย - เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมสังเกตการณ์ในการจัดหาพัสดุ - จัดอบรมให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุ - ออกประกาศรายงานผลการดำเนินโครงการทุกขั้นตอนให้ประชาชนทราบและตามช่องทางที่ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก |
|
|
|
|
|
-1๓-
มิติ |
ภารกิจตามมิติ |
โครงการ/กิจกรรม/มาตรการ |
ปี 256๒ |
ปี 256๓ |
ปี 256๔ |
ปี 256๕ |
หมายเหตุ |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
งบ ประมาณ (บาท) |
||||
|
4.3 การส่งเสริมบทบาทการตรวจสอบของสภาท้องถิ่น |
4.๓.๑ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบที่กำหนดไว้ - โครงการอบรมสัมมนาเพิ่มประสิทธิภาพและศึกษาดูงาน 4.๓.๒ ส่งเสริมให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีบทบาทในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารตามกระบวนการ และวิธีการที่กฎหมาย ระเบียบที่กำหนดไว้ โดยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด - สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น เช่น การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ การตั้งกระทู้ถาม รวมทั้งให้มีการปรึกษาหารือในร่างข้อบัญญัติ ญัตติที่ฝ่ายบริหารเสนอให้สภาพิจารณา
|
|
|
|
|
|
|
4.4 เสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชนและบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต |
4.4.1 ส่งเสริมให้มีการดำเนินการเฝ้าระวังการทุจริต - ขยายผลการดำเนินการการป้องกันการทุจริต มีบอร์ดนิทรรศการ - สร้างชุมชนเฝ้าระวังการต่อต้านการทุจริต 4.4.2 บูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต - มีการพัฒนาความร่วมมือกับสมาคมเครือข่ายการป้องกันการทุจริตจังหวัดอุบลราชธานี และสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคมเพื่อต่อต้านการทุจริต |
|
|
|
|
|
|
รวม |
จำนวน ๗ กิจกรรม/โครงการ |
|
|
|
|
|
ส่วนที่ ๓
รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม/มาตรการ
มิติที่ 1 การสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
1.1 การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักแก่บุคลากรทั้งข้าราชการการเมืองฝ่ายบริหาร ข้าราชการการเมืองฝ่ายสภาท้องถิ่น และฝ่ายประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.1.1 สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ให้บังเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนในท้องถิ่น
1. ชื่อโครงการ : โครงการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
2. หลักการและเหตุผล
หลักธรรมาภิบาล หรือ การบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) เป็นหลักสำคัญในการบริหารและการปฏิบัติงานจะต้องมีความสุจริต โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างจิตสำนึกในการทำงานและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง นอกจากนี้ ยังต้องมีการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กรได้อีกด้วย จากสภาพปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่เป็นปัญหาเรื่อรังที่มีส่วนบั่นทอนความเจริญของประเทศไทยมานาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันอย่างจริงจัง ในสถานการณ์วิกฤติปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยดังกล่าว ทุกภาคส่วนในสังคมไทยต่างเห็นพ้องตรงกันว่าการที่จะทำให้ปัญหาการคอร์รัปชันลดน้อยลงและหมดไปได้ในที่สุดนั้น ต้องนำหลักธรรมาภิบาลไปปรับใช้กับทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคส่วนการเมือง ภาคราชการ ภาคธุรกิจเอกชน ตลอดจนภาคประชาสังคมอย่างเข้มงวดจริงจัง พร้อมทั้งสร้างทัศนคติใหม่ปลูกจิตสำนึกของคนไทยร่วมต้านภัยการทุจริต ควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงค่านิยมไปในทิศทางที่ไม่เอื้อหรือสนับสนุนการทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งนี้ กลไกการนำหลักธรรมาภิบาล ซึ่งประกอบด้วย ความชอบธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบและการตรวจสอบได้ ความมีประสิทธิภาพและประประสิทธิผล และการมีส่วนร่วมของประชาชนไปเป็นแนวทางในการบริหารจัดการนั้น ปรากฏอยู่ในบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน ซึ่งได้วางกรอบการนำหลักธรรมาภิบาลไปเป็นแนวทางการปฏิรูปการบริหารการปกครองของหน่วยงานองค์กรต่างๆ ของภาครัฐ จึงนับเป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกให้เห็นว่าประเทศไทยมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับกรอบการนำหลักธรรมาภิบาลไปเป็นแนวทางการปฏิรูปการบริหารการปกครองของหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐนั้น ปัจจุบันยังคงอยู่บนความหลากหลายในองค์ประกอบหลักของธรรมาภิบาลซึ่งประกอบด้วยหลักความชอบธรรม (Legitimacy) หลักความโปร่งใส (Transparency) หลักความรับผิดชอบและการตรวจสอบได้ (Accountability) หลักความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และหลักการมีส่วนร่วม (Participation) ดังนั้น การพิจารณาคัดเลือกนำองค์ประกอบหลักของธรรมาภิบาลเหล่านั้นมาใช้เป็นเครื่องมือกลไกในการสร้างมาตรฐานด้านความโปร่งใสสำหรับหน่วยงานหรืองค์กรใดๆ จะต้องคำนึงถึงกรอบเป้าหมาย วัตถุประสงค์แนวทาง หรือวิธีการดำเนินงานที่หน่วยงานองค์กรสามารถปฏิบัติ เพื่อสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีได้ต่อไป
ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงจัดทำโครงการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขึ้น
-1๕-
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหารท้องถิ่น บุคลากรขององค์กร มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักธรรมาภิบาล คุณธรรมจริยธรรมและความซื่อสัตย์ นำไปสู่การปฏิบัติที่ดีต่อประชาชน
2. เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่น บุคลากรขององค์กร เกิดความตระหนักในการรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ทุกขั้นตอนและปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ด้วยความตรงไปตรงมา มีมาตรฐาน โปร่งใส และตรวจสอบได้
4. เป้าหมาย
ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานและพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติจากผู้บริหารท้องถิ่น
2. มอบงานให้กับผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนและจัดเตรียมโครงการ
3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดหาวิทยากร
4. จัดทำกำหนดการและหัวข้อการอบรม
๕. ติดตามประเมินผลแบบทดสอบก่อน และหลังการอบรม
๖. สรุปผลในภาพรวมและรายงานผลการดำเนินการตามโครงการให้ผู้บริหารท้องถิ่นทราบ
7. ระยะเวลาการดำเนินงาน
พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. ผู้บริหารท้องถิ่น บุคลากรขององค์กรมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมาภิบาล คุณธรรมจริยธรรมและความซื่อสัตย์
2. ผู้บริหารท้องถิ่น บุคลากรมีเกิดความตระหนักในการรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ทุกขั้นตอนและปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ด้วยความตรงไปตรงมา มีมาตรฐาน โปร่งใส และตรวจสอบได้
1. ชื่อโครงการ : โครงการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่
2. หลักการและเหตุผล
การพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืนและสามารถก้าวพ้นทุกวิกฤติของโลกที่มากับกระแส โลกาภิวัฒน์ มีรากฐานสำคัญจากการพัฒนาบุคคลในประเทศนั้นๆ ให้เป็นคนดี ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของคนในสังคมโดยเฉพาะ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ซึ่งได้รับมอบหมายภารกิจในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนอำนาจที่ได้รับอย่างซื่อสัตย์ ต้องดูแล จัดการตัดสินใจเกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะ การจัดการทรัพยากรของชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและต่อประเทศชาติ
จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงเห็นความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร เพื่อตระหนักถึงการสร้างจิตสำนึกให้มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีจิตสำนึกที่ดีใน
-1๖-
การปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่ ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน และเกิดความภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื้อสัตย์สุจริต
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหารท้องถิ่น บุคลากรขององค์กร เกิดความตระหนักในการปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่ให้มีมาตรฐาน โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
2. เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่น บุคลากรขององค์กร มีความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และพัฒนาตนเองให้มีจิตสาธารณะ และเกิดความภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานและพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. จัดให้มีการดำเนินกิจกรรม
1. ฝึกอบรมสัมมนา
2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์บุคคลต้นแบบในองค์กร
3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
2. ติดตามประเมินผลกิจกรรม
7. ระยะเวลาในการดำเนินการ
พ.ศ. 2562- 256๕
8. งบประมาณในการดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10.ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
3.1 ผู้บริหารท้องถิ่น บุคลากรขององค์กร มีความตระหนักในการปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่โดยมุ่งสัมฤทธิ์ของงาน มีมาตรฐาน โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีจิตสาธารณะ
3.2 ผู้บริหารท้องถิ่น บุคลากรขององค์กร มีความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเกิดความภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
-1๗-
1.1.2 สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการประพฤติตามประมวลจริยธรรม
1. ชื่อโครงการ : มาตรการ “ส่งเสริมการปฏิบัติงานตามประมวลจริยธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”
2. หลักการและเหตุผล
ตามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ประกาศใช้ประมวลจริยธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 โดยกำหนดกลไกและระบบในการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย ซึ่งมีการกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ ประกอบกับได้มีประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับจริยธรรมของพนักงานเทศบาล ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง ลงวันที่ 30 กันยายน 2558 กำหนดให้พนักงานเทศบาล ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างของเทศบาล มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมและประเทศชาติ อำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรม 9 ประการ ได้แก่ ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม, มีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ ยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีประโยชน์ทับซ้อน,ยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย, ให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็วมีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพโปร่งใส และตรวจสอบได้ ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนกรณีการเรี่ยไร และกรณีการให้หรือรับของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดให้ข้าราชการต้องละเว้นจากการแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบ โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่และไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ตามนัยหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1013.7/ว 11 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2557 ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรนำแนวทางการดำเนินการดังกล่าวมาปรับใช้เป็นแนวทางในการถือปฏิบัติโดยอนุโลม
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการปฏิบัติงานและเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชน จึงได้จัดทำมาตรการ “ส่งเสริมการปฏิบัติงานตามประมวลจริยธรรม” ขึ้น เพื่อให้บุคลากรทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายประจำทุกระดับนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม ไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือการมีผลประโยชน์ทับซ้อน
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นเครื่องมือกำกับความประพฤติการปฏิบัติหน้าที่ในการยึดหลักตามมาตรฐานทางจริยธรรม
2. เพื่อให้เกิดการปรับปรุงประมวลจริยธรรมขององค์กรให้เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป และสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับบริการและประชาชนทั่วไป
3. เพื่อให้เกิดพันธะผูกพันระหว่างองค์กรและข้าราชการในทุกระดับ โดยให้ฝ่ายบริหารใช้อำนาจในขอบเขต สร้างระบบความรับผิดชอบของข้าราชการต่อตนเอง ต่อองค์กร ต่อผู้บังคับบัญชาต่อประชาชนและต่อสังคมตามลำดับ
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา พนักงาน ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างทั่วไป
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. แต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงประมวลจริยธรรม
2. ประชุมคณะทำงานฯ
-1๘-
3. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตนตามประมวลจริยธรรมเพื่อใช้เป็นค่านิยมสำหรับองค์กร ที่ต้องยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติควบคู่ไปกับระเบียบและกฎข้อบังคับอื่นๆ อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
4. จัดทำเป็นคู่มือการปฏิบัติตนตามประมวลจริยธรรมแก่บุคลากร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตน
5. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบ เพื่อมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบ
6. ติดตามประเมินผลโดยใช้แบบสอบถาม
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 –2๕6๕
8. งบประมาณดำเนินการ
-
9. ผู้รับผิดชอบ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. ประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายสภาท้องถิ่น และฝ่ายพนักงาน ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้า ง ได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
2. บุคลากรในองค์กร มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการปฏิบัติตนตามประมวลจริยธรรมขององค์กร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
-1๙-
1.1.3 สร้างจิตสำนึกและความตระหนักที่จะไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ หรือการมีผลประโยชน์ทับซ้อน
1. ชื่อโครงการ : โครงการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
2. หลักการและเหตุผล
ด้วยสถานการณ์หรือการกระทำของบุคคลมีผลประโยชน์ส่วนตนเข้ามาเกี่ยวข้องจนส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจหรือการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง การกระทำดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ทั้งเจตนาหรือไม่เจตนาหรือหรือบางเรื่องเป็นการปฏิบัติสืบต่อกันมาจนไม่เห็นว่าจะเป็นสิ่งผิดแต่อย่างใด พฤติกรรมเหล่านี้เป็นการกระทำความผิดทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะ (ประโยชน์ของส่วนรวม) แต่กลับตัดสินใจปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้อง
“ผลประโยชน์ทับซ้อน” หมายถึง สถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีผลประโยชน์ส่วนตนอยู่ และมีการใช้อิทธิพลตามอำนาจหน้าที่ละความรับผิดชอบเพื่อให้เกิดประโยชน์ส่วนตัว โดยก่อให้เกิดผลเสียต่อผลประโยชน์ส่วนรวม ผลประโยชน์ทับซ้อนมีหลากหลายรูปแบบ ไม่จำกัดอยู่ในรูปของตัวเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้น แต่รวมถึงผลประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่รูปตัวเงินหรือทรัพย์สินก็ได้ อาทิ การแต่งตั้งพรรคพวกเข้าไปดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆ ทั้งในหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทจำกัด หรือการที่บุคคลผู้มีอำนาจที่ตัดสินใจให้ญาติพี่น้องหรือบริษัทที่ตนมีส่วนได้ส่วนเสียได้รับสัมปทานหรือผลประโยชน์จากทางราชการโดยชอบ ทั้งนี้หมายรวมถึง ความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้ดำเนินโครงการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน เพื่อป้องกันการทุจริตในการปฏิบัติราชการ
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่บุคลากรเกี่ยวกับการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
2. เพื่อป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจเกิดจากการมีผลประโยชน์ทับซ้อน
3. เพื่อปรับปรุงขั้นตอนแนวทางการปฏิบัติงาน หรือระเบียบเพื่อป้องกันการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน
4. กลุ่มเป้าหมาย
คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา พนักงาน ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างทั่วไป
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีการดำเนินการ
1. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจเกิดจากการมีผลประโยชน์ทับซ้อน
2. ประชุมคณะทำงานฯ
3. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้บุคลากรในองค์กรมีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงนโยบายและจัดการป้องกันการมีผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งในส่วนของขั้นตอน แนวทางการปฏิบัติงาน หรือระเบียบต่างๆ ในการปฏิบัติงาน
4. จัดทำคู่มือเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการมีผลประโยชน์ทับซ้อน
5. จัดอบรมเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรเกี่ยวกับการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน และใช้แอปพลิเคชัน กฎหมาย ป.ป.ช. ในการทดสอบวัดระดับความรู้ความเข้าใจ
6. จัดทำรายงานผล และข้อเสนอแนะของคณะทำงานฯ ในการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนต่อสาธารณชน
-๒๐-
7. ระยะเวลาการดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณในการดำเนินโครงการ
-
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน โดยได้รับเกียรติบัตรระดับพื้นฐานจากการทดสอบความรู้ความเข้าใจจากแอปพลิเคชัน กฎหมาย ป.ป.ช. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดในองค์กร
2. คู่มือเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการมีผลประโยชน์ทับซ้อน
3. รายงานผลและข้อเสนอแนะในการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน เผยแพร่ต่อสาธารณชน
-๒๑-
1.2 การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักแก่ประชาชนทุกภาคส่วนในท้องถิ่น
1.2.1 สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการต่อต้านการทุจริต
1. ชื่อโครงการ : โครงการสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการต่อต้านการทุจริต
2. หลักการและเหตุผล
ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2556 – 2560) มุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีมาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรม เป็นสังคมมิติใหม่ที่ประชาชนไม่เพิกเฉยต่อการทุจริตทุกรูปแบบ โดยต้องได้รับความร่วมมือจากฝ่ายการเมือง หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนประชาชน ในการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติและประชาชนเพื่อให้ประเทศไทยมีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในด้านความโปร่งใสทัดเทียมนานาอารยประเทศ โดยกำหนดวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” มีเป้หมายหลักเพื่อให้ประเทศไทยได้รับการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ไม่น้อยกว่ำร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2564
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารงานในพื้นที่สามารถตอบสนองต่อแผนยุทธศาสตร์ฯ ข้างต้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงได้จัดทำโครงการสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการต่อต้านการทุจริต เพื่อเสริมสร้างค่านิยมต่อต้านการทุจริตให้แก่ภาคประชาชน และการส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการตรวจสอบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างค่านิยมในการต่อต้านการทุจริต การมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการทุจริตให้แก่ประชาชน
4. เป้าหมาย
ประชาชนในพื้นที่ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล
6. วิธีดำเนินการ
1. จัดกิจกรรมเสริมสร้างค่านิยมการต่อต้านการทุจริตในเวทีชุมชนต่างๆ
2. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ให้ตระหนักถึงการต่อต้านการทุจริต
4. จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการทุจริตชุมชน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลสัมฤทธิ์
1. มีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างค่านิยมการต่อต้านการทุจริตในเวทีชุมชนต่างๆ
2. มีการผลิตสื่อเผยแพร่การสร้างค่านิยมต่อต้านการทุจริต ไม่น้อยกว่า 5 ช่องทาง
3. มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการทุจริตในชุมชน
4. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักร่วมกันในการต่อต้านการทุจริตไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
-๒๒-
1.2.2 สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการรักษาประโยชน์สาธารณะ
1. ชื่อโครงการ : โครงการส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แหล่งท่องเที่ยว พัฒนา และปรับปรุงภูมิทัศน์ในชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
2. หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยในอดีตเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรป่าไม้อยู่เป็นจำนวนมาก การลักลอบตัดไม้ทำลายป่าไม้ที่ผิดกฎหมายเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัจจุบันทรัพยากรป่าไม้ของประเทศไทยมีจำนวนลดน้อยลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศต่างๆ ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอย่างมาก หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจึงได้มีการริเริ่มโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งจะสามารถช่วยให้ธรรมชาติของประเทศไทยกลับมามีความสมดุลเพิ่มมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงมีความห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ของประเทศ โดยทั้งสองพระองค์ท่านได้พยายามคิดค้นหาวิธีนานัปการที่จะเพิ่มปริมาณป่าไม้ของประเทศไทยให้มากขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งพระองค์ท่านได้เสนอวิธีที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงาน คือ แนวคิดเรื่อง “ปลูกป่า 3 อย่าง เพื่อประโยชน์ 4 อย่าง” ปลูกป่า 3 อย่าง ได้แก่ ปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และระบบนิเวศน์ “พออยู่” หมายถึง ไม้เศรษฐกิจ ปลูกไว้ทำที่อยู่อาศัยและจำหน่าย “พอกิน” หมายถึง ปลูกพืชเกษตรเพื่อการกินและสมุนไพร “พอใช้” หมายถึง ปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรงและพลังงาน เช่น ไม้ฟืน และไม้ไผ่ เป็นต้น เพื่อประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ในฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ได้ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในการร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนและในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนได้ร่วมกันอนุรักษ์ ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกสาธารณะให้ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการรักษาประโยชน์สาธารณะ
2. เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้
3. เพื่อเป็นการสร้างความสามัคคี และสร้างกลุ่มอาสาสมัครและพิทักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
1. ประชาชนในพื้นที่ ปลูกต้นไม้และปลูกป่าชุมชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๗ หมู่บ้าน โดยปลูกพันธุ์ไม้ประเภทต่างๆ ทั้งไม้ยืนต้น ไม้ประดับ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผักสวนครัว รั้วกินได้ เป็นต้น
2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแล อนุรักษ์ ฟื้นฟู สภาพแหล่งน้ำ คูคลอง ที่เสื่อมโทรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๗ หมู่บ้าน และพื้นที่ทั้งหมดในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาชนต่างๆ
5. พื้นที่ดำเนินการ
พื้นที่สาธารณะประโยชน์ในเขตชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวและแหล่งน้ำ คู คลอง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีการดำเนินงาน
1. จัดอบรมผู้เข้าร่วมโครงการพร้อมชี้แจงความเป็นมาและแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ
2. จัดเวทีระดมความคิดเห็นการจัดกิจกรรมและการจัดตั้งกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมประจำชุมชน
3. จัดเวทีเสวนาติดตามผลการดำเนินงานกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมประจำชุมชน
-๒๓-
4. จัดกิจกรรมร่วมกันปลูกต้นไม้ในชุมชน พัฒนา ขุดลอก คูคลอง กำจัดวัชพืชในแม่น้ำคูคลอง ทำความสะอาดถนนและพื้นที่สาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ ในชุมชนและในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. จัดกิจกรรมพัฒนา ปรับปรุงภูมิทัศน์ และอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนให้มีความสวยงาม สะอาด ร่มรื่น น่าพักผ่อนหย่อนใจและเป็นสถานที่ออกกำลังกายของประชาชนในชุมชนและชุมชนอื่นๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไป
6. จัดกิจกรรมศึกษาดูงานหมู่บ้าน/ชุมชน หรือหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างให้แก่ชุมชนต่างๆ ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
กองการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการรักษาประโยชน์สาธารณะ เข้าร่วมกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
2. ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้
3. สิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น และทรัพยากรธรรมชาติมีมากขึ้น
-๒๔-
1.2.3 สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1. ชื่อโครงการ : โครงการส่งเสริมครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง
2. หลักการและเหตุผล
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน ให้สามารถพึ่งพาตนเอง
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้ประชาชนนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
2. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้เด็กและเยาวชนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
ประชาชน และเยาวชนในชุมชน
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. จัดอบรม/บรรยายให้ความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยวิทยากรในชุมชน
2. ศึกษาดูงานการดำเนินการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ประสบความสำเร็จในชุมชน
3. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรม/แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
กองการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
-๒๕-
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
1. ชื่อโครงการ : โครงการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
2. หลักการและเหตุผล
โครงการอบรมให้ความรู้สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงเล็งเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจนของราษฎร พร้อมทั้งได้พระราชทานแนวทางการดำเนินงานให้หน่วยงานต่างๆ นำไปวางแผนปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้กับราษฎรผู้ประสบความทุกข์ยาก ด้อยโอกาสและยากจนตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเน้นให้ผลการดำเนินงานตกถึงมือราษฎรโดยตรงเป็นเบื้องแรก ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่าง “พออยู่ พอกิน” และขณะเดียวกันก็เป็นการปูพื้นฐานไว้สำหรับ “ความกินดี อยู่ดี ในอนาคต” ด้วย ดังนั้น โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงเป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาราษฎรผู้ยากไร้ให้มีฐานะ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะประชาชนในชนบทที่อยู่ห่างไกล ทุรกันดารและยากจนอย่างแท้จริง โดยมีหลักการสำคัญคือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เป็นขั้นตอนตามลำดับความจำเป็น ประหยัด การพึ่งพาตนเอง ส่งเสริมความรู้ และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม นอกจากนั้น ยังมุ่งเน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ชุมชนสามารถวิเคราะห์ปัญหา และความต้องการของชุมชน สามารถวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และความพร้อมของเกษตรกรได้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ โดยมีแนวทางตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มาประยุกต์เผยแพร่ให้กับผู้มีรายได้น้อย ด้อยโอกาสทางสังคมและประชาชนทั่วไปที่สนใจ
3. วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมอาชีพเพิ่มรายได้ให้ประชาชนในชุมชน
2. สร้างความรู้ความเข้าใจแนวคิดตามแนวทางทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
ประชาชนและผู้ที่มีความสนใจในการสร้างอาชีพ
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
6.1 ประชาสัมพันธ์โครงการในกลุ่มเป้าหมายรับทราบ
6.2 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดให้กับผู้ร่วมโครงการ
6.3 ศึกษาดูงานในสถานที่จริง
6.4 ฝึกปฏิบัติงาน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบ
กองสวัสดิการสังคมและกองการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
-๒๖-
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเพาะเห็ด และสามารถสร้างรายได้ให้ตนเอง
2. ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดการเรียนรู้และเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
-๒๗-
1.3 จิตสำนึกและความตระหนักแก่เด็กและเยาวชน
1.3.1 สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในความซื่อสัตย์สุจริต
1. ชื่อโครงการ : โครงการคุณธรรมสานสายใยครอบครัว
2. หลักการและเหตุผล
สภาวะปัจจุบันสังคมมีความเจริญก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาการสมัยใหม่คนส่วนใหญ่ยึดติดอยู่กับความสำเร็จทางวัตถุกันมาก ขาดความเอาใจใส่ในเรื่องศาสนา ศีลธรรม ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดโดยเฉพาะเยาวชนส่วนหนึ่งเป็นปัญหาของการขาดศีลธรรม คุณธรรม ดังนั้นการส่งเสริมคุณธรรมโดยเริ่มจากสังคมเล็กๆ ก่อนคือสถาบันครอบครัว หากได้รับการเรียนรู้ อบรม ปลูกจิตสำนึกในเรื่องศีลธรรมคุณธรรม โดยเฉพาะการสร้างจิตสำนึกความซื่อสัตย์ ส่งผลให้เยาวชนเป็นบุคคลที่มีคุณธรรม ความซื่อสัตย์ และคุณภาพต่อไป องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเยาวชนให้มีจิตสำนึกที่ดี จึงได้จัดทำโครงการคุณธรรมสานสายใยครอบครัว เพื่อส่งเสริมให้เป็นเยาวชนเป็นคนที่มีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีสติปัญญา มีความอดทน รอบคอบในการดำเนินชีวิต จะช่วยสร้างให้พวกเขาตระหนักถึงคุณค่าของตนเองพร้อมมีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ไม่ตกเป็นเหยื่อหรือสร้างปัญหาให้กับสังคม แต่กลับจะเป็นผู้พร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่า เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศชาติ เพื่อความเจริญก้าวหน้าและมั่นคงของชาติ
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อปลูกจิตสำนึกในเรื่องศีลธรรมคุณธรรม โดยเฉพาะการสร้างจิตสำนึกความซื่อสัตย์ให้แก่เด็กและเยาวชน
2. เพื่อสร้างความตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองและการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดี
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
เด็กและเยาวชน และผู้ปกครอง
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. ประชุมผู้เกี่ยวข้องกำหนดจัดงาน
2. จัดทำโครงการเสนอพิจารณาอนุมัติ
3. ประสานการจัดงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
4. ประสานคณะวิทยากร และประชาสัมพันธ์เชิญชวนโรงเรียนต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการ
5. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและประชุมชี้แจง
6. ดำเนินการตามโครงการ
7. ติดตามและประเมินผลการจัดงาน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
งบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบ
กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
-๒๘-
10.ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักในการดำรงตนตามหลักคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองและพร้อมมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดี
1. ชื่อโครงการ : โครงการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้เด็กและเยาวชน (กิจกรรม “โตไปไม่โกง”)
2. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการทุจริตเป็นปัญหาที่ทำลายสังคมอย่างรุนแรงและฝังรากลึก เป็นปัญหาที่สะท้อนวิกฤตการณ์ด้านคุณธรรมจริยธรรมของคนในสังคม ซึ่งการที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนนั้นคนในสังคมต้องมีค่านิยมในการรักความดีและรู้สึกไม่ยอมรับพฤติกรรมทุจริตและการโกงทุกรูปแบบ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พุทธศักราช 2537 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2552 มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และมาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และ (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (9) จัดการศึกษา (10) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ที่ต้องการพัฒนาคนไทยให้เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ความรู้ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และมาตรา 25 กำหนดให้รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ นั้น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้เด็กและเยาวชน (กิจกรรม “โตไปไม่โกง”) ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันและค่านิยมที่ถูกต้องซึ่งจะเป็นรากฐานที่สำคัญ ที่ทำให้เด็กและเยาวชนเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ และเป็นการป้องกันแก้ไขปัญหาทุจริตที่ได้ผลที่สุด โดยการปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนรักความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์สุจริต การยึดมั่นในความสัตย์จริงรู้จักแยกแยะถูกผิด ปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นโดยชอบ ไม่คดโกง มีจิตสาธารณะ มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ตระหนักรู้และคำนึงถึงสังคมส่วนรวม มีความรับผิดชอบต่อตัวเองในการกระทำใดๆ และพร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม
3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนเป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต
3.2 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้เด็กและเยาวชน ไม่ยอมรับพฤติกรรมทุจริตและการโกงทุกรูปแบบ
3.3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีจิตสาธารณะ และพร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม
4. เป้าหมาย
เด็กและเยาวชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีการดำเนินการ
1. ประชุมวางแผน/มอบนโยบาย
-๒๙-
2. แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณานำหลักสูตรโตไปไม่โกงมาปรับใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัดขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
3. ดำเนินกิจกรรมตามแนวทางของคณะทำงานฯ
4. ติดตามการดำเนินการ
๕. สรุปผลการดำเนินการ
7. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณ
8. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
กองการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีการนำหลักสูตรโตไปไม่โกงมาปรับใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวให้การอุดหนุน
2. เด็กและเยาวชนได้รับการปลูกฝังให้เป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีภูมิคุ้มกันทางสังคม
ไม่ยอมรับพฤติกรรมทุจริตและการโกงทุกรูปแบบ
3. เด็กและเยาวชนมีจิตสาธารณะ และพร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม
-๓๐-
1.3.2 สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการต่อต้านการทุจริต
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรมส่งเสริมสภาเด็กเยาวชนต่อต้านการทุจริต
2. หลักการและเหตุผล
การทุจริตเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อประเทศ ดังนั้นการปลูกจิตสำนึกของคนในชาติให้มีจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริต โดยมุ่งที่เด็กและเยาวชนที่จะต้องสร้างชาติในอนาคต โดยส่งเสริมให้เยาวชนมีความตระหนักในปัญหาการทุจริต และเกิดจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมสภาเด็กเยาวชนต่อต้านการทุจริต เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการต่อต้านการทุจริตให้เกิดขึ้นในสภาเด็กเยาวชนของชุมชนและเกิดการขยายผลไปสู่กลุ่มเด็กและเยาวชนในชุมชนต่อไป
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการต่อต้านการทุจริตให้กับเด็กและเยาวชน
2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความซื่อสัตย์ สุจริต และเสียสละเพื่อส่วนรวม
4. เป้าหมาย
เด็กและเยาวชน
5. พื้นที่ดำเนินการ
สภาเด็กและเยาวชนในองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีการดำเนินการ
1. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมสภาเด็กและเยาวชนในการต่อต้านการทุจริต เพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรม แนวทางในการดำเนินการ
2. จัดประชุมคณะทำงานฯ
3. ดำเนินการตามกิจกรรม และรูปแบบที่กำหนด
4 สรุปติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ
7. ระยะเวลาดำเนินงาน
ปีงบประมาณ 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบ
กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลสัมฤทธิ์
1. สภาเด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
2. สภาเด็กและเยาวชนเกิดจิตสำนึกในความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความตระหนักในการต่อต้านการทุจริต
และเสียสละเพื่อส่วนรวม เกิดการขยายผลไปสู่กลุ่มเด็กและเยาวชนในชุมชนต่อไป
-๓๑-
1.3.3 สร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้มีจิตสาธารณะ
1. ชื่อโครงการ : โครงการยาวชนสัมพันธ์ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. หลักการและเหตุผล
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น น้ำ ป่าไม้ แร่ธาตุ ซึ่งนับวันจะหมดลงเนื่องจากมนุษย์ไม่ได้ตระหนักถึงคุณค่าและการบำรุงรักษา จะเห็นได้จากปัจจุบันปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น ทำให้น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ ขยะล้นเมือง อันเนื่องมาจากการขาดจิตสำนึกของมนุษย์ที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญ และต้องได้รับการพัฒนาทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เจริญเติบโตเป็นพลเมืองดีที่จะเป็นกำลังในการพัฒนาท้องถิ่น และประเทศชาติต่อไป
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และปัญหาที่จะได้รับผลกระทบจากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการเยาวชนสัมพันธ์ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้น
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการปลูกและปลุกจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชน มีความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีจิตสำนึกที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นสมบัติของชาติ
2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกสาธารณะ รู้จักเสียสละ และรู้จักแบ่งปัน
4. เป้าหมาย
เด็กและเยาวชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
๖.๑ จัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน
6.๒ ประสานงานวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.๓ ประสานงานสถานที่จัดอบรม และสถานที่จัดกิจกรรม
6.๔ ดำเนินโครงการจัดกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้
6.๕ สรุปรายงานติดตามและประเมินผลโครงการ
7. ระยะเวลาการดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลสัมฤทธิ์
1. เด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2. เด็กและเยาวชนมีความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเกิดจิตสำนึกที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นสมบัติของชาติ
3. เด็กและเยาวชนเกิดจิตสำนึกสาธารณะ รู้จักเสียสละ และรู้จักแบ่งปัน
มิติที่ 2 การบริหารราชการเพื่อป้องกันการทุจริต
|
2.1 การแสดงเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหาร
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม/มาตรการ
มาตรการแสดงเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
2. หลักการและเหตุผล
ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 256๒ - พ.ศ. 256๕) ซึ่งมุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีมาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรม เป็นสังคมมิติใหม่ที่ประชาชนไม่เพิกเฉยต่อการทุจริตทุกรูปแบบ โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายการเมือง หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนประชาชน ในการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติและประชาชนเพื่อให้ประเทศไทยมีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในด้านความโปร่งใสทัดเทียมนานาอารยประเทศ โดยกำหนดวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” มีเป้าหมายหลักเพื่อให้ประเทศไทยได้รับการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งการที่ระดับคะแนนจะสูงขึ้นได้นั้น การบริหารงานภาครัฐต้องมีระดับ ธรรมาภิบาลที่สูงขึ้น เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนต้องมีพฤติกรรมแตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริตประพฤติมิชอบ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 7,852 แห่ง ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานของรัฐภายใต้โครงสร้างการจัดระเบียบบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจการปกครอง ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางลงสู่ท้องถิ่นและเป็นกลไกหนึ่งในการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นซึ่งนำไปสู่การพัฒนาทั่วทั้งประเทศ การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืนรัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยยึดหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ ส่วนการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำได้เท่าที่จำเป็นตามกรอบกฎหมายกำหนด และต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในระดับท้องถิ่นเอง ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยและร่วมมือกันสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต โดยได้ยึดถือหรือมีความมุ่งมั่นที่จะบริหารราชการให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนในท้องถิ่น มีการบริหารให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตและการมีส่วนร่วมของประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวจึงได้ดำเนินการจัดทำมาตรการการแสดงเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหารท้องถิ่นด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเห็นเป็นรูปธรรม ด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
2. เพื่อประชาสัมพันธ์การจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สู่การรับรู้ของสาธารณชน
4. เป้าหมาย
1. การประกาศเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
2. แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
-๓๓-
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. ผู้บริหารมอบนโยบาย/มาตรการ/แนวทาง เพื่อป้องกันการทุจริตและต้านการทุจริต
2. แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
3. จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
4. ประกาศเผยแพร่แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตต่อสาธารณชน
5. ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
6. ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณ
9. ผู้รับผิดชอบ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. ผู้บริหารได้แสดงเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตอย่างเห็นเป็นรูปธรรม
2. แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
-๓๔-
2.2 มาตรการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ
2.2.1 สร้างความโปร่งใสในการบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามหลักคุณธรรม ทั้งในเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง โยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง/เงินเดือน และการมอบหมายงาน
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม/มาตรการ
มาตรการการสร้างความโปร่งใสในการบริหารงานบุคคล (ถือปฏิบัติตามระเบียบ)
2. หลักการและเหตุผล
พนักงาน ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นบุคลากรที่มีความสำคัญต่อองค์กร โดยการขับเคลื่อนการพัฒนางานขององค์กรให้มีศักยภาพ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร และประชาชน การพัฒนางานขององค์กรจะบรรลุผลได้ต้องเริ่มมาจากบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนางานให้มีคุณภาพ จะต้องมีมาตรฐานในการทำงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน และมีมาตรการในการทำงานที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบการทำงานได้ ด้านการพัฒนาระบบบริหารให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม เพื่อนำไปสู่การสร้างมาตรฐานความโปร่งใส และการให้บริการที่เป็นธรรมตรวจสอบได้อย่างแท้จริงต่อไป
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมบริหารราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวได้ให้ความสำคัญกับการบริหารงานบุคคลและกิจการสภาให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักคุณธรรม จริยธรรมในการทำงาน มีความโปร่งใส และตรวจสอบการทำงานได้ จึงได้จัดให้มีมาตรการสร้างความโปร่งใสในการบริหารงานบุคคลขึ้น
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงในการบริหารงานบุคคลตามหลักคุณธรรม และกฎหมายของผู้บริหารให้ปรากฏชัดเจน
2. เพื่อกำหนดมาตรการแนวทางปฏิบัติในการทำงาน การเลื่อนขั้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง และมอบหมายงาน
อย่างเป็นธรรม
3. เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรได้เสนอความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ในการบริหารงานที่โปร่งใส
4. เพื่อให้การปฏิบัติงานบุคลากรมีแนวทาง รูปแบบ ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และป้องกันการได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
มาตรการการสร้างความโปร่งใสในการบริหารงานบุคคล (ถือปฏิบัติตามระเบียบ)
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. ผู้บริหารกำหนดแนวทาง/มอบนโยบายในการบริหารงานบุคคล
2. แต่งตั้งคณะทำงาน
3. จัดทำมาตรการ แนวทางปฏิบัติในการทำงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้
4. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของบุคลากรในองค์กร
5. ประกาศเผยแพร่มาตรการ
6. กำกับติดตามการดำเนินการตามมาตรการ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ 2562 – 256๕
-๓๕-
8. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณ
9. ผู้รับผิดชอบ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตังชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มาตรการการสร้างความโปร่งใสในการบริหารงานบุคคล
2. แนวทางป้องกันการได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ
3. กลไกให้เจ้าหน้าที่สามารถเสนอความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ในการบริหารงานที่โปร่งใส
4. ลดข้อร้องเรียนในการดำเนินการด้านบริหารงานบุคคลของเทศบาลไม่น้อยกว่า 80 %
5. บุคลากรมีความพึงพอใจต่อระบบและมาตรฐานการบริหารงานบุคคลไม่น้อยกว่า 80%
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม/มาตรการ
มาตรการออกคำสั่งมอบหมายของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหัวหน้าส่วนราชการ
2. หลักการและเหตุผล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานบริหารราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น หน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และหน้าที่ตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ต้องทำอีกมากมายในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ผู้มารับบริการติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ของเทศบาลนั้น มักจะประสบปัญหาด้านการอำนวยความสะดวกในการติดต่อราชการเนื่องจากภารกิจมีมากมาย ไปรวมอยู่กับฝ่ายผู้บริหาร ไม่มีการกระจายอำนาจ หรือมอบหมายอำนาจหน้าที่ในการสั่งการ อนุมัติ อนุญาต ไปยังหัวหน้าหน่วยงาน ระดับสำนัก กอง และฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการให้บริการ ทำให้การบริการเกิดความล่าช้า ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกอันอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการกระทำการทุจริตประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ ส่งผลให้ระบบการให้บริการภาครัฐเสื่อมประสิทธิภาพ
เพื่อประโยชน์สุขประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 6 และมาตรา 37 ที่กำหนดให้การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชนและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ การบริหารงานมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการสั่ง อนุญาต และอนุมัติ เกี่ยวกับราชการ และมีอำนาจมอบหมายการปฏิบัติราชการให้แก่รององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้รับแต่งตั้งในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตอบสนองความต้องการของประชาชน ลดขั้นตอนการให้บริการและไม่สร้างเงื่อนไขขั้นตอนที่มีความยุ่งยาก จึงจำเป็นต้องมีมาตรการออกคำสั่งมอบหมายของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหัวหน้าส่วนราชการ
3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อเป็นการลดขั้นตอนการให้บริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรมตอบสนองความต้องการของประชาชน
3.2 เพื่อให้ประชาชนมีความพึงพอใจในการบริการจากหน่วยงาน
3.3 เพื่อเป็นการกระจายอำนาจการตัดสินใจในการสั่ง อนุญาต อนุมัติของผู้บริหารทุกระดับ
3.4 เพื่อป้องกันการผูกขาดอำนาจหน้าที่ในการใช้ดุลพินิจอันอาจเป็นเหตุแห่งการทุจริตและประพฤติมิชอบในตำแหน่งหน้าที่ราชการ
-๓๖-
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
จัดทำคำสั่งมอบหมายงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหัวหน้าส่วนราชการ
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. ประชุมมอบนโยบาย/แนวทางในการมอบหมายงาน
2. จัดทำคำสั่งมอบหมายงานในการสั่ง อนุญาต อนุมัติ ตามกฎหมาย ระเบียบฯ ข้อบังคับและหนังสือสั่งการ
2. จัดทำหนังสือแจ้งเวียนให้ทุกส่วนราชการและผู้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนรับทราบและถือปฏิบัติ
3. จัดทำประกาศ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ
4. ให้ผู้รับมอบหมายงานตามคำสั่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายในทุกเดือน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณ
9. ผู้รับผิดชอบ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตังชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มาตรการออกคำสั่งมอบหมายของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหัวหน้าส่วนราชการ
2. คำสั่งมอบหมายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติราชการแทน จำนวนไม่น้อยกว่า 4 ฉบับ
3. ประชาชนมีความพึงพอใจในบริการที่ได้รับอยู่ในระดับดี
-๓๗-
2.2.2 สร้างความโปร่งใสในการบริหารการเงิน งบประมาณ การจัดการพัสดุ การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของทางราชการ โดยยึดถือและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม/มาตรการ
มาตรการสร้างความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะด้วยตนเอง ทั้งในเรื่องการจัดหารายได้และการใช้จ่ายเงินและการบริหารงานต่างๆ ตามภารกิจและการจัดทำบริการสาธารณะ แต่ต้องเป็นไปตามอำนาจหน้าที่และกฎหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จะต้องบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล
ดังนั้นการสร้างความโปร่งใสในการบริหารการเงิน งบประมาณ การจัดหาพัสดุ การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของทางราชการ เป็นเรื่องที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญ เพื่อป้องกันการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่สมควร ผิดวัตถุประสงค์ ไม่มีประสิทธิภาพ และป้องกันการเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลการจัดซื้อ จัดจ้าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงได้จัดทำมาตรการสร้างความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อป้องกันการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่สมควร ผิดวัตถุประสงค์ ไม่มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อป้องกันการเอื้อประโยชน์ให้กับตนเอง และพวกพ้อง
3. เพื่อสร้างกลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลการจัดซื้อ จัดจ้างขององค์กร
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานการเงิน งบประมาณ การจัดหาพัสดุ
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. จัดประชุม
2. จัดทำคำสั่งคณะทำงาน
3. ประชุมคณะทำงาน
4. กำหนดมาตรการ/แนวทาง/กิจกรรมสร้างความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
5. จัดทำประกาศ ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในหน่วยงานและประชาชนทราบ
6. กำกับติดตามการดำเนินการตามมาตรการ
7. รายงานผล ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะเสนอผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อปรับปรุงแนวทางในการดำเนินงาน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณ
9. ผู้รับผิดชอบ
กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
-๓๘-
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีมาตรการป้องกันและกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่สมควร ผิดวัตถุประสงค์ ไม่มีประสิทธิภาพ และป้องกันการเอื้อประโยชน์ให้กับตนเอง และพวกพ้อง
2. มีกลไกหรือช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลการจัดซื้อ จัดจ้างขององค์กรผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ขององค์กร
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม/มาตรการ
กิจกรรม “การพัฒนาแผนและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง”
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งกำหนดให้มีการบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและการปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง ปัญหาอุปสรรคในกระบวนการดำเนินงาน
2. เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารใช้ในการพัฒนาแผนและปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานด้านจัดซื้อจัดจ้าง
3. เพื่อป้องกันการใช้จ่ายงบประมาณที่ผิดวัตถุประสงค์ ไม่มีประสิทธิภาพ
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและเกี่ยวข้องในงานการเงิน งบประมาณ การจัดหาพัสดุ
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. ประชุมวางแผนวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง ปัญหาอุปสรรคในกระบวนการดำเนินงาน
2. รวบรวมจัดเก็บข้อมูลในการจัดซื้อจัดจ้างในฐานข้อมูล
3. จำแนกวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง
4. สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
5. รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างเสนอผู้บริหารเพื่อประกอบการพัฒนาแผนและปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานด้านจัดซื้อจัดจ้าง
6. เผยแพร่รายงานผลให้สาธารณชนรับทราบ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง ปัญหาอุปสรรคในกระบวนการดำเนินงานในแต่ละปีงบประมาณ
2. มีฐานข้อมูลให้ผู้บริหารใช้ในการพัฒนาแผนและปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานด้านจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อป้องกันการใช้จ่ายงบประมาณที่ผิดวัตถุประสงค์ ไม่มีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าเป็นประโยชน์กับประชาชน
-๓๙-
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม/มาตรการ
กิจรรมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการจัดซื้อจัดจ้าง
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะด้วยตนเอง ทั้งในเรื่องการจัดหารายได้และการใช้จ่ายเงินและการบริหารงานต่างๆ ตามภารกิจและการจัดทำบริการสาธารณะ แต่ต้องเป็นไปตามอำนาจหน้าที่และกฎหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จะต้องบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล
ดังนั้นการสร้างความโปร่งใสในการบริหารการเงิน งบประมาณ การจัดหาพัสดุ การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของทางราชการ เป็นเรื่องที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวให้ความสำคัญ เพื่อป้องกันการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่สมควร ผิดวัตถุประสงค์ ไม่มีประสิทธิภาพ และป้องกันการเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลการจัดซื้อ จัดจ้าง องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวจึงได้จัดทำกิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการจัดซื้อ – จัดจ้าง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดซื้อ – จัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวทุกโครงการ
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดซื้อ – จัดจ้างรายโครงการ
2. เพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ สามารถตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล
3. เพื่อป้องกันการทุจริตในหน่วยงาน
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
เผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อ – จัดจ้าง ตามแผนงาน/โครงการต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวน 4 ช่องทาง ได้แก่ ทางเว็บไซต์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ หนังสือ ระบบกระจายเสียงไร้สาย
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวและชุมชนต่างๆ ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. รวบรวมข้อมูลกระบวนการจัดหาพัสดุเพื่อจัดทำประกาศ ดังนี้
- ประกาศการจัดซื้อ – จัดจ้าง
- ประกาศการกำหนดราคากลางในการจัดซื้อ – จัดจ้าง
- ประกาศกำหนดวัน เวลา สถานที่ในการตรวจรับงาน
- ประกาศวัน เวลา สถานที่ในการตรวจรับงาน
- ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกพร้อมวงเงินการจัดซื้อ – จัดจ้าง
- ประกาศวัน เวลา สถานที่ในการตรวจรับงาน
2. นำส่งประกาศไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามช่องทางการประชาสัมพันธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว ได้แก่ ทางเว็บไซต์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ ระบบกระจายเสียงไร้สาย หน่วยงานราชการ เป็นต้น
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณ
-๔๐-
9. ผู้รับผิดชอบ
กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง
2. มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครบทุกโครงการ
-๔๑-
2.2.3 สร้างความโปร่งใสในการให้บริการสาธารณะ/บริการประชาชน เพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ประชาชนโดยทัดเทียมกันและโดยไม่เลือกปฏิบัติ
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม/มาตรการ
กิจกรรมการจัดบริการสาธารณะและการบริการประชาชนเพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ประชาชนโดยทัดเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติ
2. หลักการและเหตุผล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารจัดการโดยการอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน และให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมหรือศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ( One Stop Service) ณ สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นศูนย์บริการประชาชนในการติดต่อ สอบถามข้อมูล ยื่นคำขออนุมัติ อนุญาตในเรื่องที่เป็นอำนาจหน้าที่และภารกิจของเทศบาล ติดตามความคืบหน้า และแจ้งผลการดำเนินการให้ประชาชนผู้รับบริการทราบ โดยมีการปรับระบบการทำงานแต่ละกระบวนงานเพื่อให้มีระบบบริการที่เชื่อมต่อระหว่างศูนย์บริการร่วมกับหน่วยงานเจ้าของเรื่อง ทั้งในด้านเอกสาร การส่งต่องาน ระบบการรับเงิน และกำหนดระยะเวลาดำเนินการของแต่ละกระบวนงาน ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน ใช้ระบบบัตรคิวอัตโนมัติ เพื่อให้บริการตามลำดับ จัดสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อให้บริการที่ดีกับประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้ได้รับความพึงพอใจโดยทัดเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติ
นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังต้องบริหารจัดการสาธารณะ ตามเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติราชการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้มาตรฐานทั้ง 17 ประเด็น (ด้านถนน ทางเดิน และทางเท้า, ด้านไฟฟ้าสาธารณะ, ด้านระบบระบายน้ำ, ด้านน้ำเพื่อการบริโภค, ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน, ด้านการส่งเสริมกีฬา, ด้านการส่งเสริมผู้สูงอายุ, ด้านการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส, ด้านงานสาธารณสุข, ด้านการส่งเสริมการพัฒนาสตรี, ด้านการส่งเสริมอาชีพ, ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, ด้านการส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น, ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว, ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ด้านศึกษา และด้านการจัดบริการสาธารณะ ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล (การแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน การกำจัดผักตบชวาและวัชพืชในแหล่งน้ำ การลดและคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่แหล่งกำเนิด การจัดการน้ำเสีย แผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง และกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่) โดยในขั้นตอน กระบวนปฏิบัติภารกิจ ต้องคำนึงการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน สร้างความโปร่งใสในการบริการสาธารณะ ให้ประชาชนได้รับความ พึงพอใจโดยทัดเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติ
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อมีมาตรฐานการปฏิบัติงานตามแต่ละภารกิจให้ประชาชนได้รับทราบ สร้างความโปร่งใสในการบริการสาธารณะ ให้ประชาชนได้รับความพึงพอใจโดยทัดเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติอย่างยุติธรรม เสมอภาค
2. เพื่อเป็นการประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการ และนำผลมาปรับปรุงในการให้บริการ
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
ทุกสำนัก/กององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว ดำเนินการปฏิบัติงานบริการสาธารณะ อย่างยุติธรรม เสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ
5. พื้นที่ดำเนินการ
ทุกสำนัก/กอง องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. ผู้บริหารมอบนโยบาย/แนวทางในการดำเนินการเพื่อสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงานตามแต่ภารกิจงานบริการสาธารณะ
-๔๒-
2. ประชุมสำนัก/กอง/ฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานที่โปร่งใส ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ตรวจสอบได้
3. จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานตามแต่ภารกิจ กำหนดให้มีการแสดงขั้นตอน ระยะเวลา อัตราค่าบริการอย่างชัดเจน และกำหนดให้มีการประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการ
4. ประกาศเผยแพร่มาตรฐานการปฏิบัติงาน ณ ที่ทำการ เว็บไซต์ และช่องทางประชาสัมพันธ์อื่นๆ ที่ประชาชนสามารถรับทราบได้อย่างทั่วถึง
5. รายงานผลการปฏิบัติงาน ปัญหาอุปสรรค และผลการประเมินความพึงพอใจของประชาชนให้ผู้บริหารและประชาชน รับทราบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุงในการให้บริการ
6. ประชุมสำนัก/กององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการปรับปรุงการให้บริการเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบ
ทุกสำนัก/กององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. รายงานผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานปฏิบัติงานแต่ละภารกิจ และผลการประเมินความพึงพอใจต่อสาธารณชน
2. ประชาชนมีความพึงพอใจของต่อคุณภาพการให้บริการ ร้อยละ 80
3. ลดจำนวนข้อร้องเรียนการให้บริการสาธารณะที่ไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติ
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม/มาตรการ : มาตรการ “ยกระดับคุณภาพการบริการประชาชน”
2. หลักการและเหตุผล
ประชาชนในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม กล่าวได้ว่าเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวจึงได้ให้ความสำคัญในการสร้างความเป็นธรรม/ไม่เลือกปฏิบัติในการให้บริการสาธารณะ/บริการประชาชนให้เกิดขึ้นในพื้นที่มากที่สุด โดยนำแนวทางตามหลักการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะหลักความโปร่งใส (Transparency) และหลักเสมอภาค (Equity) โดยไม่แบ่งแยกด้าน เพศ ถิ่นกำหนด เชื้อชาติ ภาษา อายุ ความพิการ สภาพทางกายภาพหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรมและอื่นๆ สอดคล้องกับมาตรา 8 แห่ง พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ที่ได้กำหนดให้ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐและการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยความซื่อสัตย์ สุจริต สามารถตรวจสอบได้
ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานมีการใช้ระบบหรือเกณฑ์ที่ชัดเจน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวจึงมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการปฏิบัติงาน เพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ มีการแสดงขั้นตอนการให้บริการแก่ประชาชนอย่างชัดเจน มีระบบการป้องกันหรือการตรวจสอบเพื่อป้องกันการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการ รวมถึงการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน เพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ประชาชนโดยทัดเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งจะช่วยให้ การบริการของหน่วยงานมีความเป็นธรรมโปร่งใสยิ่งขึ้น
-๔๓-
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีระบบที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์ต่อประชาชน
2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในภารกิจตามที่กฎหมายกำหนดของหน่วยงานให้บริการอย่างมีความเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
3. เพื่อให้ประชาชนผู้มารับบริการเกิดความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ และเชื่อมั่นในองค์กร
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
ประชาชนผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ ร้อยละ 80
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. จัดให้มีการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบต่างๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานหรือมีเครื่องมือการปฏิบัติงานที่มีความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ระบบบัตรคิวในการให้บริการ ระบบการให้บริการออนไลน์ เป็นต้น
6.2 จัดให้มีและปรับปรุงการแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน อัตราค่าบริการ (ถ้ามี) และระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการให้ผู้ใช้บริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทราบอย่างชัดเจน
6.3 จัดให้มีระบบการป้องกันหรือการตรวจสอบเพื่อป้องกันการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ จัดให้มีกล้องวงจรปิดภายในสถานที่ให้บริการ
6.4 จัดให้มีสถานที่สำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการโดยไม่เลือกปฏิบัติ ได้แก่ ทางลาดชันห้องน้ำสำหรับผู้พิการ
6.5 จัดให้มีป้ายสามภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษามาลายูกลาง
6.6 มีการนำระบบออนไลน์ ซอฟต์แวร์ สกอร์คาร์ด สมาร์ท บ๊อกซ์ (Scorecard Smart Box) มาประยุกต์ใช้ในการประเมินผลการให้บริการประชาชน (Services Level Agreement : SLA)
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2564
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนัก/กององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีระบบที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์ต่อประชาชน
2. มีระบบการทำงานให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้บริการอย่างมีความเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
3. ประชาชนผู้รับบริการมีความพึงพอใจ ร้อยละ 80
4. ลดจำนวนข้อร้องเรียนการให้บริการสาธารณะที่ไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติ
-๔๔-
2.3 มาตรการการใช้ดุลยพินิจและใช้อำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2.3.1 มีการจัดทำแผนภูมิขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการเกี่ยวกับการบริการประชาชนรายละเอียดที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอน เปิดเผย ณ ที่ทำการและในระบบเครือข่ายสารสนเทศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. ชื่อโครงการ : มาตรฐานการยกระดับการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2. หลักการและเหตุผล
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 52 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานการอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ตลอดจนจัดให้มีการรับฟังและสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงการบริหารงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด ประกอบกับในปีที่ผ่านมาได้มีการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี และได้ดำเนินการตามโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องทุกปีนั้น
เพื่อกำกับให้การใช้ดุลยพินิจและใช้อำนาจหน้าที่ของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจขององค์กร เกิดความความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ประสิทธิภาพและความคุ้มค่า สามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง หรืออย่างน้อยมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวจึงได้จัดทำมาตรการยกระดับการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยยึดกรอบแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดทำมาตรฐานการยกระดับการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2. เพื่อมีแนวทางการปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิธีการและมาตรฐานที่ใช้ในการให้บริการ
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
การใช้ดุลยพินิจและใช้อำนาจหน้าที่ของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำมาตรฐานการยกระดับการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2. ประชุมคณะกรรมการเพื่อสำรวจงานบริการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติ ปรับปรุงขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการที่สามารถปฏิบัติได้จริงและพิจารณางานในภารกิจว่าเรื่องใดที่ผู้บังคับบัญชาสามารถมอบอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการใดๆ ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
3. จัดทำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีและมาตรฐานที่ใช้ในการให้บริการ
ปรับปรุงแผนผังกำหนดผู้รับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน
1) ปรับปรุงป้ายแสดงขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการแก่ประชาชน
2) จัดทำเอกสาร/แผ่นพับประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ
3) จัดให้มีกล่อง/ตู้รับความคิดเห็นของประชาชน
4) จัดทำ/เตรียมแบบฟอร์มคำร้องต่างๆ พร้อมตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มทุกงานบริการ
-๔๕-
5) จัดทำคำสั่งการให้บริการประชาชนนอกเวลาราชการ โดยจัดให้มีการให้บริการแก่ประชาชนทั้งเวลา ทำการ ช่วงพักกลางวันและในวันหยุดราชการ
5) การมอบอำนาจการตัดสินใจ การอนุญาต การอนุมัติ การรักษาราชการแทน
4. ประกาศเปิดเผยข้อมูลและมาตรฐานการให้บริการ ขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการ จัดทำแผนภูมิแสดงขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการเกี่ยวกับการบริการประชาชน ณ ที่ทำการ และเว็บไซต์ของหน่วยงาน
5. ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ และนำผลดังกล่าวมาปรับปรุงการปฏิบัติราชการ
6. รายงานผลการปฏิบัติงาน ความคิดเห็นและอุปสรรคต่างๆ ให้ผู้บริหารทราบ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
ทุกกอง/สำนัก ในองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีและมาตรฐานที่ใช้ในการให้บริการ
2. มีแผนภูมิแสดงข้อมูลการให้บริการ ขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการเกี่ยวกับการบริการประชาชน ณ ที่ทำการ และเว็บไซต์ของหน่วยงาน
3. ประชาชนมีความพึงพอใจในการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเพิ่มขึ้น
-๔๖-
2.3.2 มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่ง อนุญาต อนุมัติ ปฏิบัติราชการแทนหรือการดำเนินการอื่นใดของผู้มีอำนาจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. ชื่อโครงการ : มาตรการการมอบอำนาจอนุมัติ อนุญาต สั่งการ เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ
2. หลักการและเหตุผล
การมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาในการบริหารงานในด้านต่างๆ ภายในองค์กรนั้น เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว ซึ่งการพิจารณาเลือก/มอบหมายภารกิจและขอบข่ายของความรับผิดชอบที่จะมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชา จะพิจารณาถึงความสำคัญ คุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถในการที่จะดำเนินการเรื่องนั้นเป็นอย่างดี ด้วยความรอบคอบและเหมาะสม เพื่อให้การบริหารงานก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ราชการ
ดังนั้น การดำเนินการของหน่วยงานต้องมีการปรับให้เข้ากับสภาพสังคมและทันต่อสถานการณ์ที่การบริหารราชการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ต้องมีการกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่ง อนุญาต อนุมัติ ปฏิบัติราชการแทนหรือการดำเนินการอื่นใดของผู้มีอำนาจในองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่ง อนุญาต อนุมัติ ปฏิบัติราชการแทนหรือการดำเนินการอื่นใดของผู้มีอำนาจในองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
2. เพื่อป้องกันการผูกขาดอำนาจหน้าที่ในการใช้ดุลยพินิจอันอาจเป็นเหตุแห่งการทุจริตและประพฤติมิชอบในตำแหน่งหน้าที่ราชการ
3. เพื่อให้ประชาชนมีความพึงพอใจในการให้บริการ
4. เป้าหมาย
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าสำนัก
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. ออกคำสั่งมอบหมายงานในการสั่ง อนุญาต อนุมัติ แต่งตั้ง ปฏิบัติราชการแทนหรือการดำเนินการอื่นใดของผู้มีอำนาจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกระจายอำนาจในการตัดสินใจ
2. แจ้งเวียนผู้รับมอบอำนาจและทุกหน่วยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รับทราบ
3. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลหน้าที่ความรับผิดชอบและผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ เปิดเผยต่อสาธารณชน
4. ผู้รับมอบอำนาจรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งที่ได้รับมอบมายในทุกเดือน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
-๔๗-
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่ง อนุญาต อนุมัติ ปฏิบัติราชการแทนหรือการดำเนินการอื่นใดของผู้มีอำนาจในองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวและเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน
2. ประชาชนมีความพึงพอใจในการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเพิ่มมากขึ้น
2.4 การเชิดชูเกียรติแก่หน่วยงาน/บุคคลในการดำเนินกิจการ การประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นที่ประจักษ์
2.4.1 ยกย่องเชิดชูเกียรติที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม
1. ชื่อโครงการ : ยกย่องเชิดชูเกียรติหน่วยงาน/บุคคลที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม
2. หลักการและเหตุผล
สังคมปัจจุบันมุ่งเน้นความอยู่รอดในเชิงเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีการแก่งแย่งแข่งขันในทุกรูปแบบเพื่อบรรลุผลตามความประสงค์ โดยอาจทำให้ขาดการคำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรม อาจส่งผลกระทบต่อคุณธรรม จริยธรรมในจิตสำนึกของผู้คนจนเกิดความผิดเพี้ยนไป ทำให้เกิดปัญหาขึ้นอย่างมากมายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทุจริตทุกระดับ ทุกภาคส่วน รวมถึงปัญหาการก่ออาชญากรรมและอื่นๆ
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนดีมีจุดยืนในสังคมเป็นต้นแบบอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลัง องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวจึงจัดให้มีการยกย่องเชิดชูเกียรติ มอบรางวัลหรือประกาศเกียรติคุณแก่บุคคลที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม เพื่อส่งเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่คนดีเหล่านั้น ให้ร่วมมือกันในการสร้างสรรค์สังคมที่สงบสุข มีคุณธรรม จริยธรรมเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม เพื่อการปลุกกระแสการสร้างสังคมแห่งความดีอย่างเป็นรูปธรรม อันเนื่องมาจากแนวคิดที่ว่า ความดี ความซื่อสัตย์สุจริตและคุณธรรมเป็นรากฐานอันสำคัญในการพัฒนาสังคมสู่ความสงบสุขร่มเย็นร่วมกัน
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติแก่หน่วยงาน/บุคคลที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม
2. เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจ ตลอดจนปลุกจิตสำนึกและกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนได้มีแบบอย่างที่ดี อันเป็น กุศโลบายหนึ่งในการปลูกจิตสำนึกให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าแห่งความดีมากยิ่งขึ้น
๓. เพื่อสร้างสังคมที่สงบสุขและทุกคนในสังคมประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม
4. เพื่อรณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชน หน่วยงาน องค์กรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวมีค่านิยม ยกย่อง เชิดชูเกียรติ และเห็นคุณค่าของการประพฤติปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรมและจริยธรรม
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
- ประชาชน หน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
- ผู้ทำคุณประโยชน์ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
- การยกย่องเชิดชูเกียรติแก่หน่วยงาน/บุคคลที่ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีจำนวนไม่น้อยกว่า 10 คน/ปี
5. พื้นที่ดำเนินการ
พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. จัดตั้งคณะทำงานฯ
2. ประชุมคณะทำงาน
-กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม
-พิจารณาคัดเลือก
-๔๘-
4. ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติในโอกาสต่างๆ
5. จัดให้มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ยกย่องเชิดชูเกียรติหน่วยงาน/บุคคล ที่ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นที่ประจักษ์ผ่านทางสื่อช่องทางต่างๆ ได้แก่ วารสาร เว็บไซต์ สื่อสังคม (Social Media) เป็นต้น
6. เชิญบุคคลที่ได้รับการเชิดชูเกียรติถ่ายทอดประสบการณ์ แนวคิดให้แก่เด็กและเยาวชน ประชาชนในชุมชนตามโอกาสต่างๆ ที่เหมาะสม
7. จัดทำทำเนียบหน่วยงาน/บุคคลที่ได้รับการเชิดชูเกียรติ เผยแพร่ต่อสาธารณชน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. จำนวนหน่วยงาน/บุคคลที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ
2. ประชาชน หน่วยงาน องค์กรในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีค่านิยม ยกย่อง เชิดชูเกียรติ และเห็นคุณค่าของการประพฤติปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรมและจริยธรรม
-๔๙-
2.4.2 ยกย่องเชิดชูเกียรติที่ให้ความช่วยเหลือกิจการสาธารณะหรือมีจิตสาธารณะ
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรมเชิดชูเกียรติบุคคลที่ช่วยเหลือกิจการสาธารณะหรือมีจิตสาธารณะ
2. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสังคมไทยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริการสาธารณะแบบมีส่วนร่วมตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากนี้ยังเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล เด็ก เยาวชนและองค์กรที่ให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน สังคมและประเทศชาติ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้บุคคลหรือองค์กรมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ร่วมเป็นแกนนำในการส่งเสริม สนับสนุน และอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติสืบไป
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวจัดทำกิจกรรมเชิดชูเกียรติประชาชนผู้มีจิตสาธารณะ เพื่อนำผู้ที่ได้รับการคัดเลือกระดับหมู่บ้านเข้ารับใบประกาศเชิดชูเกียรติและเนื่องในวันสืบสานประเพณี วันสงกรานต์ และวันผู้สูงอายุในทุกปีงบประมาณ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ให้ประชาชนมีความมุ่งมั่น ช่วยเหลือสังคม และเป็นแบบอย่างต่อบุคคลอื่นในชุมชน
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
2. เพื่อส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชน หน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวตระหนักถึงความการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และการมีจิตสาธารณะ
3. เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่สาธารณชนต่อไป
4. เป้าหมาย
- ประชาชน หน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
- ผู้ทำคุณประโยชน์ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
5. สถานที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมเชิดชูเกียรติประชาชนผู้มีจิตสาธารณะ
2. ประสานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเพื่อคัดเลือกบุคคลผู้เข้าร่วมกิจกรรมเชิดชูเกียรติประชาชนผู้มีจิตสาธารณะ
3. จัดทำเอกสารผู้ทำคุณประโยชน์ด้านต่างๆ เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชา ดังนี้
- ด้านช่วยเหลือสังคมดีเด่น (ประชาชน)
- ด้านถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นดีเด่น การจักสาน (ประชาชน)
- ด้านถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นดีเด่น เพลงพื้นบ้าน (ประชาชน)
- ด้านถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นดีเด่น การสอนกลองยาว (ประชาชน)
- ด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมการแสดงกลองยาว (เด็กและเยาวชน)
4. ดำเนินการจัดทำกิจกรรมเชิดชูเกียรติประชาชนผู้มีจิตสาธารณะ
5. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่สาธารณชนต่อไป
6. สรุปผลการจัดทำกิจกรรมเชิดชูเกียรติประชาชนผู้มีจิตสาธารณะเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชา
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2564
-๕๐-
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. การยกย่องและเชิดชูเกียรติแก่บุคคล หน่วยงาน องค์กรดีเด่น ผู้ทำคุณประโยชน์ จิตสาธารณะหรือเข้าร่วมในกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
2. ประชาชน หน่วยงาน องค์กรในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีค่านิยม ยกย่อง เชิดชูเกียรติ และเห็นคุณค่าของบุคคลที่เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และมีจิตสาธารณะ
-๕๑-
2.4.3 ยกย่องเชิดชูเกียรติที่ดำรงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรมเชิดชูเกียรติบุคคลดำรงตนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. หลักการและเหตุผล
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่ พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งการเกษตรในสมัยก่อน เกษตรกรจะทำการผลิตเพื่อการบริโภคโดยอาศัยธรรมชาติตามสภาพแวดล้อมมีการปลูกพืชหลากหลายชนิดคละกัน ทั้งพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร พืชใช้สอย ในลักษณะของสวนผสม ต่อมามีการพัฒนาเป็นการเกษตรเพื่อการบริโภคและจำหน่าย ทำให้ต้องใช้ทรัพยากรจากภายนอกมากขึ้น ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นประกอบกับเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ต้องหันกลับมาทำการเกษตรเพื่อการบริโภคและจำหน่ายในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้ง การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นการเกษตรแบบพึ่งพาตนเองเป็นการใช้พื้นที่เล็กๆ ให้เกิดประโยชน์ ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีและสารพิษตกค้าง ทำให้สภาพแวดล้อมของบริเวณบ้านน่าอยู่น่าอาศัย และที่สำคัญสามารถใช้บริโภคในครัวเรือนเป็นการลดรายจ่ายของครอบครัวแทนที่จะซื้อจากตลาด และเหลือจากการบริโภคในครัวเรือนสามารถขายเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกด้วย
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวได้เห็นความสำคัญของการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มจากการดำเนินชีวิตในครัวเรือนเป็นลำดับแรก จึงได้ร่วมกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลคัดเลือกประชาชนที่ปฏิบัติตนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่สามารถลดการใช้ทรัพยากรน้ำและต้นทุนในการใช้จ่ายลงได้ และสามารถนำผลิตผลที่เหลือจากการบริโภคไปเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะเกษตรกรในเขตชลประทาน ที่มีการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นตัวอย่าง ตลอดจนสามารถถ่ายทอดความรู้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งให้มีรายได้จากกิจกรรมอื่นทดแทนอย่างยั่งยืน จึงได้จัดทำกิจกรรม เชิดชูเกียรติประชาชนผู้ปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแต่งตั้งให้เป็นวิทยากรประจำศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์สาธิตเกษตรผสมผสาน อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างให้แก่เกษตรกรได้น้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในการดำเนินชีวิตอีกด้วย
3. วัตถุประสงค์
เพื่อเชิดชูเกียรติประชาชนผู้ปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นตัวอย่างและเป็นวิทยากร ประจำศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์สาธิตเกษตรผสมผสาน ถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร
4. เป้าหมาย
ประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. สถานที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. ประชุมคณะกรรมการศูนย์บริการฯ ประจำตำบล
2. ดำเนินคัดเลือกบุคคลต้นแบบที่น้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต
3. ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติในโอกาสต่างๆ และแต่งตั้งให้เป็นวิทยากรประจำศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์สาธิตเกษตรผสมผสาน
4. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานของบุคคลที่ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่สาธารณชนต่อไป
5. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหาร
-๕๒-
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 –256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
กองการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. จำนวนบุคคลที่ดำรงตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ
2. ขยายผลองค์ความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนในชุมชน
-๕๓-
2.5 มาตรการจัดการในกรณีได้ทราบ หรือรับแจ้งหรือตรวจสอบพบการทุจริต
2.5.1 ข้อตกลงหรือวิธีการอื่นใดระหว่างบุคลากรในองค์กรให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม และการบริหารราชการกิจการบ้านเมืองที่ดี
1. ชื่อโครงการ : มาตรการ “จัดทำข้อตกลงการปฏิบัติราชการ”
2. หลักการและเหตุผล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ด้านการบริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่น และการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้นการดำเนินการบริหารจัดการต่างๆ ต้องคำนึงถึงหลัก ธรรมาภิบาล เพื่อให้การบริหารราชการเกิดประสิทธิภาพ ไม่เกิดปัญหาข้อครหาในการทุจริตหรือดำเนินการไม่โปร่งใส ซึ่งสาเหตุการทุจริตที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงานของภาครัฐ สาเหตุส่วนมากเกิดจากการดำเนินงานของระดับบุคคล หรือเกิดจากปัจจัยทางวัฒนธรรมขององค์กร หรือเกิดจากลักษณะงานและการรับสิ่งของต่างๆ ที่เอื้อให้เกิดการทุจริต ดังนั้น วิธีการบริหารจัดการภายในองค์กรที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กรให้กลายเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ภายในองค์กร โดยการสร้างความตระหนักถึงความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตภายในองค์กรของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ยากต่อการดำเนินงานก็ตาม แต่เป็นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานต้องสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่องค์กรที่มีคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ตลอดจนเป็นการสร้างแนวร่วมในการต่อต้านการทุจริตอันจะส่งผลต่อสังคม ชุมชน และประเทศเกิดความตระหนักถึงภัยจากการทุจริตและปฏิเสธการทุจริตในทุกรูปแบบ
ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้จัดทำมาตรการ “จัดทำข้อตกลงการปฏิบัติราชการ” ที่กำหนดแนวทางในการปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อเป็นการพัฒนาวิธีการดำเนินงานภายในองค์กรที่จะนำไปสู่การยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานให้สูงขึ้น
3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
3.2 เพื่อให้ทุกส่วนราชการ (สำนัก/กอง) นำไปยึดถือมาตรการและนำไปปฏิบัติ
3.3 เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีความโปร่งใส มีคุณธรรม
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. วิธีดำเนินการ
1. ประชุมหน่วยงาน
2. กำหนดข้อตกลงระหว่างบุคลากรในองค์กรในการปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ยึดมั่นในประมวลจริยธรรมขององค์กร โดยมีกรอบดังนี้
- ห้ามเรียกรับเงิน เรี่ยไร หรือผลประโยชน์อื่นใดจากผู้มาใช้บริการ
- ห้ามปฏิบัติหน้าที่เอื้อประโยชน์ หรือเลือกปฏิบัติแก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด และพวกพ้อง
- ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้บริการประชาชนด้วยความเป็นธรรม เสมอภาค
3. ประกาศให้บุคลากรในองค์กรถือปฏิบัติ และเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบ
-๕๔-
4. จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักในการปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี
5. กำกับติดตามมาตรการ “จัดทำข้อตกลงการปฏิบัติราชการ”
6. รายงานผลต่อผู้บริหาร เพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรคเป็นข้อมูลในการดำเนินการปรับปรุงข้อตกลงการปฏิบัติราชการในปีต่อไป
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2564
8. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
ทุกสำนัก/กอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
- ข้อตกลงระหว่างบุคลากรในองค์กรในการปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ยึดมั่นในประมวลจริยธรรมขององค์กร
- ลดข้อร้องเรียนของบุคลากรในองค์กรเกี่ยวกับเรื่องการทุจริต
-๕๕-
2.5.2 มีการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ จังหวัด อำเภอ ที่ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อการตรวจสอบ ควบคุม ดูแลการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. ชื่อโครงการ : มาตรการ “ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานตรวจสอบทั้งภาครัฐและองค์กรอิสระ”
2. หลักการและเหตุผล
กลไกการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทได้ให้อำนาจข้าราชการในหน่วยงานกระทรวงมหาดไทย ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอกำกับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินกิจการเป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
กลไกองค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งในแง่ของการทุจริตจะเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินไปโดยชอบด้วยกฎหมายระเบียบข้อบังคับหรือไม่ หรือตรวจสอบเพื่อให้นักการเมืองท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินกิจการต่างๆ อย่างโปร่งใสและสุจริต ซึ่งหน่วยงานทั้งสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นองค์กรที่มีหน้าที่สำคัญ
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว จึงได้มีมาตรการ “ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานตรวจสอบ” ขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนกลไกการตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนกลไกการตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อกำหนดผู้รับผิดชอบเพื่อรับการประเมิน ตรวจสอบ จากหน่วยที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
การตรวจสอบ ควบคุม ดูแลการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรอิสระเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. กำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบในการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานตรวจสอบทั้งจากผู้กำกับดูแลและองค์กรอิสระ อาทิ
- การรับการตรวจจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
- การรับการตรวจจากคณะทำงานตรวจประเมินมาตรฐานการปฏิบัติราชการประจำปี หรือคณะทำงาน LPA
- การรับการตรวจจากสำนักงาน ป.ป.ท. ตามโครงการ ITA
- การจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตในหน่วยงาน
2. รายงานผลการให้ความร่วมมือให้ผู้บริหารทราบ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 –256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณ
-๕๖-
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ ควบคุม ดูแลการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวจากหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรอิสระ
2.5.3 ดำเนินการให้มีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กรณีมีเรื่องร้องเรียนกล่าวหาบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
1. ชื่อโครงการ : มาตรการ “แต่งตั้งผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน”
2. หลักการและเหตุผล
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวมีนโยบายใช้หลักธรรมาภิบาลส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเสนอเรื่องร้องเรียน แจ้งเบาะแส เสนอข้อคิดเห็น ซึ่งสามารถยื่นคำร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ ระบบอินเตอร์เน็ต ทางโทรศัพท์ หรือแจ้งเบาะแสด้วยตนเอง
ฉะนั้น เพื่อให้การดำเนินการรับเรื่องร้องเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบการรับเรื่องร้องเรียนประจำองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวรวมถึงจัดทำคู่มือดำเนินการเรื่องร้องเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวขึ้น เพื่อดำเนินการมาตรการจัดการในกรณีได้รับทราบหรือรับแจ้งเรื่องร้องเรียนต่างๆ เจ้าหน้าที่รับผิดชอบได้ถือปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกัน
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการรับแจ้งเรื่องร้องเรียนต่างๆ
2. เพื่อจัดให้มีมาตรการจัดการในกรณีได้รับทราบหรือรับแจ้งหรือตรวจสอบพบการทุจริตเป็นไปตามขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบและหลักเกณฑ์เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
มีการมอบหมายแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. กำหนดผู้รับผิดชอบเรื่องร้องเรียน
2. จัดทำคู่มือดำเนินการเรื่องร้องเรียน
3. จัดประชุมให้ความรู้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเรื่องร้องเรียนเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานและดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนที่ได้รับจากช่องทางการร้องเรียนต่างๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยโปร่งใสและเป็นธรรม
4. เผยแพร่กระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สัญญา ประชาชนทั่วไป หน่วยงานภายนอกตลอดจนบุคลากรภายในหน่วยงาน สามารถเข้าใจและใช้ประโยชน์จากกระบวนการและขั้นตอนดังกล่าวได้ตรงกับความต้องการ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – ๒๕๖๕
8. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณ
-๕๗-
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
เจ้าหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนดำเนินการจัดการเรื่องร้องเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวตามคู่มือดำเนินการเรื่องร้องเรียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง
1. ชื่อโครงการ : มาตรการกำกับการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. หลักการและเหตุผล
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวมีนโยบายใช้หลักธรรมาภิบาลส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเสนอเรื่องร้องเรียน แจ้งเบาะแส เสนอข้อคิดเห็น ซึ่งสามารถยื่นคำร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ ระบบอินเตอร์เน็ต ทางโทรศัพท์ หรือแจ้งเบาะแสด้วยตนเอง
เพื่อให้การดำเนินการรับเรื่องร้องเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำมาตรการกำกับการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ตรงไปตรงมา ตรวจสอบได้ สร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายให้แก่ประชาชน
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อมีกระบวนการกำกับการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาอย่างเป็นระบบ โปร่งใส
2. เพื่อมีมาตรการกำกับติดตามการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในขั้นตอนการดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนของ บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงขั้นตอนการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างรวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ
4. เป้าหมาย
มาตรการกำกับการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. แต่งตั้งคณะทำงาน
3. กำหนดมาตรการกำกับการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม ในขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
- กระบวนการขั้นตอนลงโทษ
- กระบวนการติดตาม ตรวจสอบผู้กระทำความผิด
4. กำกับติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการกำกับการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
5. เผยแพร่ มาตรการกำกับการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวให้สาธารณะชนทราบ
-๕๘-
6. รายงานผลการดำเนินการตามมาตรการกำกับการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวทราบ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
งานกฎหมายและคดี สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีกระบวนการกำกับการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาอย่างเป็นระบบ โปร่งใส
2. ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเพิ่มมากขึ้น
มิติที่ 3 การส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
|
3.1 การจัดให้มีและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในช่องทางที่เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนได้มีส่วนร่วมตรวจสอบการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทุกขั้นตอน
3.1.1 การจัดให้มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
1. ชื่อโครงการ : มาตรการ “ปรับปรุงและพัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว”
2. หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 บัญญัติให้รัฐต้องจัดการให้ประชาชนมีโอกาสกว้างขวางในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับความเป็นจริง และมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวจึงได้มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ประชาชนเสามารถข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งดำเนินการปรับปรุงข้อมูลข่าวสารให้ครบถ้วน และเป็นปัจจุบันผ่านช่องทางในสื่อต่างๆ ของหน่วยงาน
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
2. เพื่อมีหน่วยประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานสำหรับประชาชน
3. เพื่อจัดแสดงข้อมูลการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจหน้าที่ต่อสาธารณชน
3. เพิ่มช่องทางให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลและการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
การปรับปรุงและพัฒนาข้อมูลข่าวสารของศูนย์ข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวให้มีข้อมูลที่ครบถ้วน
ถูกต้องเป็นปัจจุบัน
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. จัดตั้งคณะทำงานปรับปรุงและพัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน เพื่อดำเนินการให้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
2. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
3. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่บทบาทอำนาจหน้าที่
4. จัดทำข้อมูลแสดงการดำเนินงาน และผลการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ของหน่วยงานเป็นระยะ สม่ำเสมอ
5. ปรับปรุงระบบการให้ข้อมูลการดำเนินงานของหน่วยงานผ่านหมายเลขโทรศัพท์เฉพาะ
6. จัดให้มีบริการอินเตอร์เน็ตสำหรับให้บริการประชาชนทั่วไป
7. จัดทำรายงานผลสถิติผู้มารับบริการ รวมทั้งข้อเสนอแนะในการใช้บริการ และสรุปผลเสนอผู้บริหาร
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีการปรับปรุงและพัฒนาข้อมูลข่าวสารของศูนย์ข้อมูลข่าวสารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีข้อมูลที่ครบถ้วน
ถูกต้องเป็นปัจจุบัน
-๖๐-
2. จำนวนช่องทางการประชาสัมพันธ์
3. จำนวนสื่อประชาสัมพันธ์
4. ความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการ
3.1.2 มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การเงิน การจัดหาพัสดุ การคำนวณราคากลาง รายงานผลการปฏิบัติงาน เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กฎหมาย ระเบียบ กฎข้อบังคับ ที่กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเผยแพร่ให้ประชาชนทราบและตรวจสอบได้
3.1.3 มีการปิดประกาศ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการที่เป็นประโยชน์กับการมีส่วนร่วมตรวจสอบของประชาชน
1. ชื่อโครงการ : มาตรการกำกับติดตามการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. หลักการและเหตุผล
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ ทั้งในเรื่องการจัดหารายได้และการใช้จ่ายเงินและการบริหารงานต่างๆ ตามภารกิจและการจัดทำบริการสาธารณะ การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จะต้องบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล
ดังนั้นเพื่อสร้างความโปร่งใสในการบริหารราชการ และเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวได้ จึงได้จัดทำมาตรการกำกับติดตามการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเพื่อกำกับให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ กฎข้อบังคับที่กำหนดไว้
รวมทั้งจัดให้มีการปิดประกาศ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เพื่อส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตามตรวจสอบการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อกำกับติดตามให้หน่วยงานที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การเงิน การจัดหาพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง จัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ กฎข้อบังคับที่กำหนดไว้
2. เพื่อกำกับติดตามให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเผยแพร่ข้อมูลการให้บริการต่างๆ กฎเกณฑ์ ข้อกฎหมาย ข้อบังคับ และสถานที่ให้บริการอย่างชัดเจน
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
1. กำกับติดตามการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ กฎข้อบังคับ ที่กำหนด
2. กำกับติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ปิดประกาศ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการที่เป็น
ประโยชน์ต่อประชาชน
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. จัดตั้งคณะทำงานจัดทำมาตรการกำกับติดตามการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
2. ประชุมคณะทำงานฯ
2.1 กำหนดแนวทาง/มาตรการเพื่อกำกับติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวต่อสาธารณชน
- การบริหารงานบุคคล/แผนอัตรากำลัง
- การบริหารงบประมาณ การเงิน
- การจัดหาพัสดุ /แผนการจัดหาพัสดุ
- การจัดซื้อจัดจ้าง/ การคำนวณราคากลาง
- แผนพัฒนาท้องถิ่น
- งบประมาณรายจ่ายประจำปี
- แผนการดำเนินงาน
- ข้อมูลรายรับและรายจ่าย
-๖๑-
- งบแสดงฐานะทางการเงิน
- รายงานการประชุมคณะผู้บริหารท้องถิ่น
- รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
- รายงานผลคะแนนการประเมินมาตรฐานการปฏิบัติราชการ
- ผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชน
2.2 กำหนดแนวทาง/มาตรการกำกับติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการให้บริการต่างๆ
กฎเกณฑ์ ข้อกฎหมาย ข้อบังคับ และสถานที่ให้บริการอย่างชัดเจน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
3. ติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการกำกับติดตามการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
4. รายงานผลการกำกับติดตามการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวทราบ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10.ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การเงิน การจัดหาพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง ต่อสาธารณชน
2. มีการเผยแพร่ข้อมูลการให้บริการต่างๆ กฎเกณฑ์ ข้อกฎหมาย ข้อบังคับ และสถานที่ให้บริการอย่างชัดเจน
3. ส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
-๖๒-
3.2 การรับฟังความคิดเห็น การรับและตอบสนองเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของประชาชน
3.2.1 มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในการดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะการดำเนินกิจการที่จะมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ และสุขอนามัยของประชาชนในท้องถิ่น
1. ชื่อโครงการ : โครงการจัดเวทีประชาคม
2. หลักการและเหตุผล
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและเท่าเทียมโดยให้ประชาชน กลุ่มองค์กร ชุมชน เครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีโอกาสแสดงออกถึงศักยภาพ ความคิดเห็น ความต้องการ เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมในการรับรู้ ร่วมกำหนดแนวทางการดาเนินงาน ร่วมตัดสินใจ ร่วมติดตาม ตรวจสอบการดาเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยการจัดทาโครงการจัดเวทีประชาคมขึ้น เพื่อจะได้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวโดยเฉพาะการดำเนินกิจการที่จะมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ และสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชุน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลการพัฒนา ปรับปรุง จัดทำแผนชุมชน แผนพัฒนาท้องถิ่น อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนอย่างแท้จริง
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
2. เพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
3. เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมกระบวนการ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา และส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
4. เพื่อนำมาเป็นข้อมูลการพัฒนา ปรับปรุง จัดทำแผนชุมชน แผนพัฒนาท้องถิ่น อย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายภาคประชาสังคม
6. เพื่อจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานที่เป็นมาตรฐานสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนชุมชนและวางแผนพัฒนาท้องถิ่น
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
จัดให้มีประชุมเวทีประชาคมในชุมชน
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. วิธีดำเนินการ
1. จัดทำคำสั่งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเวทีประชาคม
2. จัดเวทีประชาคม
3. สรุปข้อมูลที่ได้จากการประชุมประชาคมส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. สรุปปัญหา ข้อเสนอแนะที่ได้จากการจัดประชาคม เพื่อกำหนดกิจกรรมโครงการไว้แผนชุมชน แผนพัฒนาท้องถิ่นต่อไป เสนอต่อผู้บริหาร
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 –256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีการจัดเวทีประชาคม
2. ได้รับทราบปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในแต่ละชุมชน
3. เกิดเครือข่ายภาคประชาชน
4. มีข้อมูลพื้นฐานชุมชนที่ได้มาตรฐานสำหรับใช้ในการวางแผนพัฒนาชุมชนและพัฒนาท้องถิ่น
-๖๓-
3.2.2 มีช่องทางให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถร้องเรียน/ร้องทุกข์ได้โดยสะดวก
3.2.3 มีรายงานหรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ประชาชนผู้ร้องเรียน/ร้องทุกข์ ได้ทราบถึงการได้รับเรื่อง ระยะเวลา และผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์
1. ชื่อโครงการ : มาตรการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์/ร้องเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
2. หลักการและเหตุผล
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเห็นความสำคัญในการรับฟังความคิดเห็น การตอบสนองเรื่องราวร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียนของประชาชน เพื่อเป็นข้อมูลในการนำมาพัฒนา ปรับปรุงการดำเนินงานบริการสาธารณะและการบริหารราชการของหน่วยงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โปร่งใส จึงได้จัดทำมาตรการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์/ร้องเรียนขึ้น เพื่อกำกับติดตามในการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์/ร้องเรียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน รวมทั้งพัฒนาปรับปรุงขั้นตอน ช่องทางการร้องเรียน กระบวนการจัดการแก้ไขปัญหา ช่องทางการติดตามผล และการแจ้งผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ และเรื่องเรียนต่างๆ ให้มีความรวดเร็ว เป็นธรรม สะดวกและเหมาะสม รวมทั้งจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่กระบวนการร้องเรียน และขั้นตอนให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อกำกับติดตามการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์/ร้องเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวให้สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนได้อย่างเหมาะสม
2. พัฒนาปรับปรุงขั้นตอน ช่องทางการร้องเรียน กระบวนการจัดการแก้ไขปัญหา ช่องทางการติดตามผล และการแจ้งผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และเรื่องเรียนต่างๆ ให้มีความรวดเร็ว สะดวกและเหมาะสม
4. เป้าหมาย
1. กำกับติดตามการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์/ร้องเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวให้สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนได้อย่างเหมาะสม
2. กำกับติดตามให้มีการปรับปรุง พัฒนากระบวนการจัดการแก้ไขปัญหา ช่องทางการร้องเรียน/การติดตามผล และการแจ้งผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และเรื่องเรียนต่างๆ ให้มีความรวดเร็ว สะดวกและเหมาะสม
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. จัดตั้งคณะทำงานมาตรการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์/ร้องเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
2. ประชุมคณะทำงานฯ มาตรการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์/ร้องเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเพื่อกำกับติดตามการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์/ร้องเรียน ให้สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว และสะดวก
3. คณะทำงานฯ กำหนดมาตรการในการกำกับติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- กำหนดให้มีการจัดตั้ง/ปรับปรุงศูนย์เรื่องราวร้องทุกข์/ร้องเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
- กำกับติดตามให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่กระบวนการร้องเรียน และขั้นตอนให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง
- กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่/หน่วยงานผู้รับผิดชอบในการรับเรื่อง/ร้องทุกข์ ร้องเรียนการทุจริตอย่างชัดเจน
- กำหนดให้มีการพัฒนาปรับปรุงขั้นตอน ช่องทางการร้องเรียน กระบวนการจัดการแก้ไขปัญหา ช่องทางการติดตามผล และการแจ้งผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และเรื่องเรียนต่างๆ
- กำหนดให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ ดำเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนอย่างเหมาะสมภายใน 15 วัน หากไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายใน 15 วัน ต้องชี้แจงให้ผู้ร้องเรียนทราบ
- กำหนดให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ มีการแจ้งผลการดำเนินการหรือความก้าวหน้า ผลเรื่องร้องเรียน ให้ผู้ร้องเรียนทราบ รวมทั้งมีช่องทางในการติดตามเรื่องร้องเรียนให้ผู้ร้องเรียนสามารถติดตามผลได้ด้วยตนเอง
4. ประกาศ/ประชาสัมพันธ์มาตรการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์/ร้องเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวให้ทุกหน่วยรับทราบ และเปิดเผยต่อสาธารณชน
5. คณะทำงานฯ กำกับติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามมาตรการ
6. ประเมินความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการ
-๖๔-
7. รายงานสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียน พร้อมปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ให้ผู้บริหารรับทราบ และเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 –256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีศูนย์หรือหน่วยรับเรื่องราวร้องเรียน/ร้องทุกข์
2. มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่/หน่วยงานที่รับผิดชอบรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์
3. มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบช่องทางในการร้องทุกข์/ร้องเรียน และกระบวนการขั้นตอนเรื่องร้องเรียน
4. มีการแจ้งผลการดำเนินการหรือความก้าวหน้า ผลเรื่องร้องเรียน ให้ผู้ร้องเรียนทราบ รวมทั้งมีช่องทางในการติดตามเรื่องร้องเรียนให้ผู้ร้องเรียนสามารถติดตามผลได้ด้วยตนเอง
4. มีการกำกับติดตามการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์/ร้องเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวให้สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนได้อย่างเหมาะสมตามมาตรการที่กำหนดไว้
-๖๕-
3.3 การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.3.1 ดำเนินการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนา การจัดทำงบประมาณ
1. ชื่อโครงการ : ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
2. หลักการและเหตุผล
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวมีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ ทั้งในเรื่องการจัดหารายได้และการใช้จ่ายเงินและการบริหารงานต่างๆ ตามภารกิจและการจัดทำบริการสาธารณะ การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จะต้องบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การจัดทำงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และร่วมดำเนินการโครงการ รวมทั้งติดตามโครงการตามแผนพัฒนาท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนต่อไป
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตน
2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามการจัดทำแผน/โครงการต่างๆ ของตน
3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามการปฏิบัติราชการ ให้มีความถูกต้อง โปร่งใส
4. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจถึงบทบาทที่ตนในการสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ/กิจกรรม/มาตรการตามแผนพัฒนาท้องถิ่นของตน
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีดำเนินการ
1. จัดประชุมคณะกรรมการชุมชน เพื่อคัดเลือกผู้แทนประชาคมในการเป็นคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
2. จัดทำร่างแผนพัฒนาท้องถิ่น
3. เผยแพร่ ร่างแผนพัฒนาท้องถิ่น ให้ประชาชนในแต่ละชุมชน เสนอข้อคิดเห็น ในปรับปรุงการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงแผนพัฒนาท้องถิ่น ให้สอดรับกับความต้องการของประชาชน
5. เสนอแผนพัฒนาท้องถิ่น ตามขั้นตอนต่อไป
6. เผยแพร่แผนพัฒนาท้องถิ่น ต่อสาธารณชน
7. รายงานผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาท้องถิ่น ต่อคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ผู้บริหาร และสาธารณชน ทราบ เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแผนพัฒนาท้องถิ่นต่อไป
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
- บาท
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีการจัดเวทีให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และมีช่องทางให้ประชาชนสามารถติดตามการจัดทำแผน/โครงการต่างๆ
2. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวมีการแต่งตั้งภาคประชาชนร่วมเป็นกรรมการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
-๖๖-
3.3.2 ดำเนินการให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบ และการประเมินผลการปฏิบัติงาน
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรมการประเมินผลการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. หลักการและเหตุผล
ด้วยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ซึ่งเป็นกระบวนการวัดผลการบริหารและปฏิบัติราชการว่าสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายหรือไม่ ตลอดจนเป็นการตรวจสอบการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำผลที่ได้จากการประเมินมาใช้ในการปรับปรุง แก้ไข ส่งเสริม พัฒนา ขยายหรือยุติการดำเนินภารกิจต่างๆ ต่อไป
เพื่อให้การประเมินผลการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงดำเนินการกิจกรรมการประเมินผลการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ และร่วมปรับปรุงแก้ไขโครงการต่าง ๆ ในแผนพัฒนาท้องถิ่น
2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้
3. เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการทุจริตในการบริหารจัดการตามภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. วิธีดำเนินการ
1. ประสานกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมข้อมูล
2. จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ
3. จัดทำประกาศประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการ
4. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนพัฒนา
(1) ผู้แทนชุมชนองค์กรภาคประชาชน ภาคเอกชน 2 คน
(2) ผู้แทนสมาชิกสภา 2 คน
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน
(4) ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นกรรมการและเลขานุการ
(5) หัวหน้าสำนักปลัด เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการดังนี้
1) ประเมินผลการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2) ประเมินผลการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปีละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อยแล้วเสนอผลการประเมินให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ เพื่อนำผลที่ได้จากการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไข ส่งเสริม พัฒนา ขยายหรือยุติการดำเนินภารกิจต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3) จัดทำแบบประเมินผลและแบบรายงานผลการประเมินการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับผลการปฏิบัติราชการประจำปี
4) ดำเนินการเรื่องอื่นๆ ตามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมาย
5. ประชุมคณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนพัฒนา
6. การจัดทำแผนการดำเนินงาน
7. การดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน
8. การติดตามและประเมินผล
9. การจัดทำสรุปรายงานผลการดำเนินโครงการฯ แล้วรายงานให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อปรับปรุงดำเนินการแก้ไขต่อไป
-๖๗-
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 25562 - 2564
8. งบประมาณดำเนินการ
-
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัดองค์กรปกครองส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
๑. มีแต่งตั้งภาคประชาชนร่วมเป็นคณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนพัฒนา
๒. ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ และร่วมปรับปรุงแก้ไขโครงการต่าง ๆ ในแผนพัฒนาท้องถิ่น
มิติที่ 4 การเสริมสร้างและปรับปรุงกลไกในการตรวจสอบการปฏิบัติราชการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
|
4.1 การจัดวางระบบตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน
4.1.1 มีการจัดทำและรายงานการจัดทำระบบตรวจสอบภายใน
1. ชื่อโครงการ : โครงการจัดทำแผนการตรวจสอบภายในประจำปี
2. หลักการและเหตุผล
การตรวจสอบภายในเป็นหลักประกันขององค์กรในด้านการประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม ทั้งในด้านการเงินและการบริหารงาน เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร โดยการเสนอรายงานการตรวจสอบภายใน เกี่ยวกับกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าขององค์กร รวมทั้งการเป็นผู้ให้คำปรึกษากับฝ่ายบริหาร ในการปรับปรุง ประสิทธิภาพการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิผล และดูแลให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า อีกทั้งยังช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากการดำเนินงานผิดพลาดและลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการตรวจสอบภายในนั้นยังถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่แทรกอยู่ในการปฏิบัติงานตามปกติ ซึ่งจะต้องมีการกระทำอย่างเป็นขั้นตอนที่ถูกต้องตามระเบียบ และกฎหมายที่กำหนด โดยผู้บริหารสามารถนำแผนการตรวจสอบภายในมาใช้โดยรวมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร เพื่อจะช่วยให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง และยังเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย ดังนั้น การจัดทำแผนการตรวจสอบภายในอย่างมีมาตรฐานประกอบกับมีระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะทำให้การปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของทางราชการ
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำกับดูแลที่ดี และความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน ป้องกันการประพฤติมิชอบหรือ
การทุจริต และเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจนทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์
2. เพื่อเป็นมาตรการถ่วงดุลแห่งอำนาจ (Check and Balance) ส่งเสริมให้เกิดการจัดสรร การใช้ทรัพยากรของ
องค์กรเป็นไปอย่างเหมาะสมตามลำดับความสำคัญ เพื่อให้ได้ผลงานที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
3. เพื่อนำผลการตรวจสอบภายในไปใช้ในการปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงานและ
ป้องกันการทุจริต ลดโอกาสความร้ายแรงและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งเพื่อเพิ่มโอกาสของความสำเร็จของงาน
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. วิธีการดำเนินการ
1. จัดทำแผนปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน โดยกำหนดให้มีหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ และให้มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่
2. สอบทานความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูลและตัวเลขต่างๆ ด้วยเทคนิค และวิธีการตรวจสอบที่ยอมรับโดยทั่วไป ปริมาณมากน้อยตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในและความสำคัญของเรื่องที่ตรวจสอบ รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินผลการบริหารและการปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจ
3. สอบทานการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การเงิน การพัสดุและทรัพย์สิน รวมทั้งการบริหารงานด้านอื่นๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี ตลอดจนตรวจสอบระบบการดูแลรักษา และความปลอดภัยของทรัพย์สิน และการใช้ทรัพยากรทุกประเภท ว่าเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัด
4. สอบทานระบบการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน และ/หรือ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งที่ทางราชการกำหนด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถนำไปสู่การปฏิบัติงานที่ตรงตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับนโยบาย
5. รายงานผลการตรวจสอบภายในและติดตามประเมินผลต่อผู้บริหารเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ลดโอกาสความร้ายแรงและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และป้องกันการทุจริต รวมทั้งเพื่อเพิ่มโอกาสของความสำเร็จของงาน และเปิดเผยรายงานต่อสาธารณชน
-๖๙-
7. ระยะเวลาการดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2564
8. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
หน่วยงานตรวจสอบภายใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
๑. มีหน่วยงานตรวจสอบภายใน/เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ที่มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่
๒. มีแผนปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน
๓. มีการนำผลการตรวจสอบภายในไปปรับปรุงเพื่อให้การป้องกันการทุจริตมีประสิทธิภาพ
4. บุคลากรมีความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ อย่างเคร่งครัด โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
๔. เผยแพร่ผลการตรวจสอบภายในให้สาธารณชนทราบ
4.1.2 มีการจัดทำและรายงานการจัดทำระบบควบคุมภายใน
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรมติดตามประเมินผลการควบคุมภายใน
2. หลักการและเหตุผล
ระบบการควบคุมภายในเป็นกลไกที่สำคัญและเป็นเครื่องมือในการบริหารงานในหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นในภาครัฐ หรือเอกชนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ระบบการควบคุมภายในจะช่วยควบคุมหรือลดความเสี่ยงของหน่วยงานให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ซึ่งจะทำให้ปฏิบัติงานและการจัดการของหน่วยงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ ในอดีตที่ผ่านมาการบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐ ได้มีการควบคุมภายในตามที่กระทรวงการคลังประกาศให้ใช้เป็นเรื่องๆ ไป ซึ่งอาจอยู่ในรูปของกฎหมาย ระเบียบ ระบบบัญชี หนังสือสั่งการ และหนังสือตอบข้อหารือต่างๆ โดยส่วนใหญ่ จะเน้นไปที่การควบคุมด้านการเงินและบัญชีและการปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดไว้ ซึ่งไม่ครอบคลุมถึงการจัดการด้านอื่นๆ นอกเหนือจากด้านการเงินและบัญชีในหน่วยงาน จึงไม่สามารถสะท้อนภาพถึงผลการดำเนินงานในภาพรวมของหน่วยงานได้ ระบบการควบคุมภายในที่ดี ควรเป็นระบบการควบคุมที่ครอบคลุมงานทุกด้านและสามารถสะท้อนภาพให้เห็นเป็นองค์รวมของหน่วยงานนั้นๆ ว่ามีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่เพียงใด การที่ระบบการควบคุมภายในของรัฐยังไม่ครอบคลุมทุกระบบงาน อาจเป็นช่องทางรั่วไหลทำให้เกิดความเสียหายในหน่วยงานและการดำเนินงานไม่สัมฤทธิ์ผล ทั้งนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการกำหนดหน้าที่และมอบหมายงานในหน่วยงานไม่เหมาะสม การมอบหมายการปฏิบัติงานทั้งกระบวนการให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงคนเดียว การควบคุมสอบทานและการตรวจสอบยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอตลอดจนขาดการประเมินและการบริหารความเสี่ยงการควบคุมภายในของหน่วยงานที่กำหนดขึ้น และพัฒนาให้ระบบการควบคุมภายในดังกล่าวทันสมัยอยู่เสมอ
เพื่อให้องค์กรมีแนวทางในการกำหนดระบบการควบคุมภายในให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการปฏิบัติงานในหน่วยงาน จึงได้กำหนดกิจกรรมการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในขึ้น
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัดและคุ้มค่า โดยลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนหรือไม่จำเป็น ลดความเสี่ยงหรือผลเสียหายด้านการเงินหรือด้านอื่นๆ ที่อาจมีขึ้น
2. เพื่อให้มีข้อมูลและรายงานทางการเงินที่ถูกต้องครบถ้วนและเชื่อถือได้ สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริหารในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารและการปฏิบัติงาน และบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อให้บุคลากรมีการปฏิบัติตามนโยบาย กฎหมาย เงื่อนไขสัญญา ข้อตกลง ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของหน่วยงานอย่างถูกต้องและครบถ้วน
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
เพื่อให้การควบคุมภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการปฏิบัติงานในหน่วยงาน อีกทั้งยังเป็นการควบคุมหรือลดความเสี่ยงของหน่วยงานให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานและการจัดงานของหน่วยงานบรรลุตามวัตถุประสงค์
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์กรปกครองส่วนตำบลเขาขาว
-๗๐-
6. วิธีดำเนินการ
1. แต่งตั้งคณะทำงานติดตามประเมินผลการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 ข้อ 6
2. ประชุมคณะทำงานเพื่อปรับปรุงพัฒนาระบบการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การปฏิบัติตามภารกิจและตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และตามแผนพัฒนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. การรวบรวมผลการติดตามและประเมินผลการควบคุมภายในให้คณะทำงานฯ เพื่อสรุปข้อมูล
4. รายงานผลการปฏิบัติงาน ความคิดเห็นและอุปสรรคต่างๆ ให้ผู้บริหารทราบ
5. นำผลการประเมินไปปรับปรุงงานและระบบควบคุมภายใน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
๖. เผยแพร่รายงานการควบคุมภายในให้สาธารณชนได้ทราบ ณ ที่ทำการ และเว็บไซต์ของหน่วยงานและสื่อสังคมออนไลน์ของหน่วยงาน
7. ระยะเวลาการดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2564
8. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัดองค์กรปกครองส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในที่มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐาน ข้อ 6 ที่เสร็จตามกำหนดเวลา
2. สรุปข้อมูลผลการควบคุมภายในและจัดทำแผนปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันการทุจริต โดยกิจกรรมการควบคุมภายใน ร้อยละ 80 ได้ดำเนินการแก้ไข
๓. ระดับความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน (ร้อยละ 80 ในระดับมาก)
๔. การเผยแพร่รายงานการควบคุมภายในให้สาธารณชนได้ทราบ
4.2 การสนับสนุนให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบการปฏิบัติ หรือการบริหารราชการตามช่องทางที่สามารถดำเนินการได้
4.2.1 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบ กำกับ ดูแลการบริหารงานบุคคล เกี่ยวกับการบรรจุ แต่งตั้ง โอน ย้ายข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง
1. ชื่อโครงการ : มาตรการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ตรวจสอบ กำกับ ดูแลการบริหารงานบุคคล
2. หลักการและเหตุผล
การบริหารงานบุคคลเป็นกระบวนการเกี่ยวกับบุคคลถือว่าเป็นสิ่งสำคัญหรือเป็นหัวใจขององค์กรจึงมักจะกำหนดหน้าที่ของงานเป็นเรื่องๆ การวางนโยบาย การวางแผน การวางระเบียบและข้อบังคับที่ปฏิบัติงานในองค์กรหรือหน่วยงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพและเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุตามวัตถุประสงค์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงได้กำหนดมาตรการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ตรวจสอบ กำกับ ดูแลการบริหารงานบุคคล เพื่อเกิดการมีส่วนร่วมตรวจสอบการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเรื่องการบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน สร้างความโปร่งใสในการบริหารงานบุคคลเป็นไปอย่างโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม การตรวจสอบ กำกับ ดูแลการบริหารงานบุคคลให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม
2. เพื่อให้เป็นแนวทางในการตรวจสอบ กำกับ ดูแลการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับการแต่งตั้ง การโอน ย้าย การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน
-๗๑-
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
ประชาชนมีส่วนร่วม การตรวจสอบ กำกับ ดูแลการบริหารงานบุคคล
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์กรปกครองส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีการดำเนินการ
ตรวจสอบ กำกับ ดูแลการบริหารงานบุคคล
- แต่งตั้งกรรมการจากภาคประชาชนให้มีส่วนร่วม ตรวจสอบ กำกับ ดูแลบริหารงานบุคคลในการบรรจุแต่งตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
- การสรรหาการบรรจุแต่งตั้งได้มีการประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณชน รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนภายในชุมชนทราบโดยการประกาศเสียงตามสายภายในหมู่บ้าน
- มีการประชาสัมพันธ์ลงในเว็บไซต์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- มีการติดประกาศประชาสัมพันธ์ที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ในการบรรจุแต่งตั้งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจากหน่วยงานอื่นเป็นกรรมการ รวมถึงมีการแต่งตั้งประชาชนเพื่อตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินการในการบรรจุแต่งตั้ง
- การบรรจุแต่งตั้งจะต้องได้รับการตรวจสอบคุณสมบัติและความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน
การเลื่อนระดับ/เลื่อนตำแหน่ง
- แต่งตั้งกรรมการจากภาคประชาชนให้มีส่วนร่วม ตรวจสอบ กำกับ ดูแลการบริหารงานบุคคลในการเลื่อนระดับ/การเลื่อนตำแหน่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ หนังสือสั่งการข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง อย่างเคร่งครัด
- มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจากหน่วยงานอื่นเข้าร่วมเป็นกรรมการประเมินผลงานการเลื่อนระดับ/การเลื่อนตำแหน่งเพื่อความโปร่งใส
- มีการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินการอย่างชัดเจน
- นำผลการประเมินความพึงพอใจของประชาชนมาประกอบการพิจารณาการบริหารงานบุคคล
การเลื่อนขั้นเงินเดือน
- แต่งตั้งกรรมการจากภาคประชาชนให้มีส่วนร่วม ตรวจสอบ กำกับ ดูแลบริหารงานบุคคลในการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามกฎหมาย ระเบียบ หนังสือสั่งการ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง อย่างเคร่งครัด
- มีการจัดทำประกาศหลักเกณฑ์หรือแนวทางนากรปฏิบัติงาน และประกาศเผยแพร่หลักเกณฑ์ให้บุคลากรทราบ
- มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานและคณะกรรมการพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือน เพื่อพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เป็นไปอย่างยุติธรรม
- มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงาน และคณะกรรมการพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือน มีการนำข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจ เพื่อประกอบการพิจารณาความดีความชอบ เช่น ข้อมูลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน ความสามารถและความอุตสาหะ การรักษาวินัย การปฏิบัติตนเหมาะสม และข้อมูลการลา เป็นต้น
- นำผลการประเมินความพึงพอใจของประชาชนมาประกอบการพิจารณาการบริหารงานบุคคล
- นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกคำสั่งการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามมติคณะกรรมการพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือน และมีการติดประกาศผลการเลื่อนขั้นเงินเดือนให้พนักงานทราบโดยทั่วกัน
7. ระยะเวลาการดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2564
8. งบประมาณดำเนินการ
-
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์กรปกครองส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
๑. ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ กำกับ ดูแลการบริหารงานบุคคล โดยให้นำผลการประเมินความพึงพอใจของประชาชนมาประกอบการพิจารณาการบริหารงานบุคคล
๒. มีแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารการบริหารงานบุคคลต่อสาธารณชน
และสามารถอธิบายผลที่เกิดขึ้นดังกล่าว
-๗๒-
4.2.2 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบ กำกับ ดูแลการบริหารงบประมาณ การรับ-จ่ายเงิน การหาประโยชน์จากทรัพย์สินของทางราชการ
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการบริหารงบประมาณ การรับ-จ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. หลักการและเหตุผล
การเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นขั้นตอนหนึ่งของวงจรการบริหารการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยหรือหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนเรียบร้อยจึงจัดทำใบนำฝากเป็นรายรับ จัดทำใบฎีกาเพื่อเป็นรายจ่าย เบิกเงินออกจากคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ สำหรับการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็เช่นเดียวกันต้องมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายทั้งการเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ จะต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบ กำกับ ดูแลการบริหารงบประมาณ จึงจัดกิจกรรมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการบริหารงบประมาณ การรับ-จ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดการใช้งบประมาณโปร่งใส ตรวจสอบได้
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ กำกับ ดูแลการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการบริหารงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง รายรับ – รายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อสาธารณชน
4. เป้าหมาย
ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ กำกับ ดูแลการบริหารงบประมาณ
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์กรปกครองส่วนตำบลเขาขาว
6. วิธีการดำเนินการ
- รวบรวมข้อมูลบริหารงบประมาณ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน
ประกาศการจัดซื้อ จัดจ้าง
ประกาศกำหนดราคากลางในการจัดซื้อ - จัดจ้าง
ประกาศกำหนดวัน เวลา และสถานที่ดำเนินการจัดหาพัสดุตามระเบียบฯ
รายรับ – รายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- มีการแต่งตั้งกรรมการพิจารณางบประมาณ
- มีการแต่งตั้งกรรมการติดตามประเมินผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ โดยกำหนดให้มีภาคประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์
- เปิดโอกาสให้ประชาชนสอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการรับจ่ายเงิน
- สรุปผลการรับ จ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ประชาชนทราบทางช่องทางต่างๆ เช่น ทางเว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร และเสียงตามสาย หอกระจายข่าว เมื่อสิ้นปีงบประมาณ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2564
8. งบประมาณดำเนินการ
-
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
องค์กรปกครองส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีเผยแพร่ข้อมูลการบริหารงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง รายรับ – รายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อสาธารณชน และมีช่องทางการให้ข้อมูลดังกล่าวแก่ผู้ร้องขอ
2. ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบและได้รับทราบข้อมูลการดำเนินการโครงการ การรับจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้เกิดความโปร่งใส
-๗๓-
4.2.3 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบ กำกับ ดูแลการจัดหาพัสดุ
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรมส่งเสริมประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ กำกับ ดูแลการจัดซื้อจัดจ้าง
2. หลักการและเหตุผล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยึดหลักการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556 – 2561) จึงได้ดำเนินการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์จัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารการดำเนินโครงการและการใช้งบประมาณ เพื่อส่งเสริมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมหรือการบริหารราชการในระบบเปิดจากการปฏิบัติจริง และสามารถพัฒนาระดับการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการปรับเปลี่ยนสู่การบริหารราชการที่เปิดเผย โปร่งใส เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน และพัฒนาระบบราชการเพื่อตอบสนองความต้องการและเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนให้ตัวแทนภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ กำกับ ดูแลการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวข้องกับการพัสดุให้แก่ประชาชน
3. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างทุกขั้นตอนต่อสาธารณชน ผ่านทางเว็บไซด์ และที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. เป้าหมาย
เผยแพร่ข้อมูลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างทุกขั้นตอนต่อสาธารณชน
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. วิธีดำเนินการ
6.1 คัดเลือกตัวแทนชุมชนจากการประชุมประชาคม เพื่อเลือกตัวแทนชุมชนเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง
6.2 จัดประชุมให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนทั่วไปและผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์เกี่ยวข้องกับพัสดุ เมื่อมีการจัดซื้อจัดจ้างทุกครั้ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ตัวแทนชุมชนมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และทราบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและตรวจการจ้างอย่างละเอียดและถูกต้อง
3. ประกาศรายงานผลการดำเนินการโครงการที่สำคัญทุกขั้นตอนให้ประชาชนทราบ ผ่านทางเว็บไซด์ และที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2564
8. งบประมาณดำเนินการ
-
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
กองคลัง องค์กรปกครองส่วนตำบลเขาขาว
10. ผลลัพธ์
ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และไม่เกิดปัญหาการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-๗๔-
4.3 การส่งเสริมบทบาทการตรวจสอบของสภาท้องถิ่น
4.3.1 ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสมาชิกสภาท้องถิ่นให้มีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องได้กำหนดไว้
1. ชื่อโครงการ : โครงการส่งเสริมความรู้ด้านกฎ ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องสำหรับผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนต้องรู้และยึดเป็นแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ การดำเนินการอย่างเคร่งครัด ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำไม่ได้เกิดจากเรื่องขาดความรอบคอบ ความชำนาญ ประสบการณ์ หรือขาดความรู้ กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่มักมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเสนอเท่านั้น หากแต่เกิดจากความรู้ความเข้าใจหรือการตีความข้อกฎหมาย ระเบียบ หรือกฎเกณฑ์ เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องอย่างผิดๆ ส่งผลให้สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้บริหารท้องถิ่นต้องตกเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และทำให้การแก้ไขปัญหาของประชาชนหรือการพัฒนาท้องถิ่นขาดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ส่งผลให้การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องล่าช้า เพราะไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงจำเป็นที่สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นต้องมีความรู้ ความเข้าใจระเบียบกฎหมาย คำสั่ง และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันมีผลให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดผลดีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นไม่ต้องเสี่ยงกับการกระทำผิดกฎหมายหรือ ถูกตรวจสอบ
ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม และมีความรู้ความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐเรื่องการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมความรู้ด้านกฎ ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องสำหรับผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้บริหาร และสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร และสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีความพร้อมในองค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง เป็นแนวทางการปฏิบัติหน้าที่และบริหารราชการ
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
ผู้บริหาร และสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. วิธีดำเนินการ
1. จัดทำโครงการ/แผนงาน
2. กำหนดกรอบเนื้อหาสาระในการส่งเสริมความรู้ด้านกฎ ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องสำหรับผู้บริหารและ
สมาชิกสภาท้องถิ่น
3. อบรมให้ความรู้โดยวิทยากร พร้อมแจกเอกสารประกอบการอบรม
4. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินการ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
-
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์กรปกครองส่วนตำบลเขาขาว
-๗๕-
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. การจัดอบรมความรู้ด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องสำหรับผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น
2. ผู้บริหาร และสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีองค์ความรู้ด้านกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติหน้าที่และบริหารราชการ
4.3.2 ส่งเสริมสมาชิกสภาท้องถิ่นให้มีบทบาทในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร ตามกระบวนการ และวิธีการที่กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องได้กำหนดไว้ โดยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสมาชิกสภาท้องถิ่น
2. หลักการและเหตุผล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ด้วยเหตุผลดังกล่าวการพัฒนาศักยภาพทักษะและความรู้ของสมาชิกสภาท้องถิ่นให้มีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าในภารกิจการตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร มีความรู้ในข้อบังคับการประชุมสภา วิธีการตรวจสอบของสภา การตั้งกะทู้ และระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การส่งเสริมสมาชิกสภาท้องถิ่นให้มีบทบาทในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร เป็นกลไกสำคัญที่ใช้สำหรับติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งอำนาจในการบริหารปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระเต็มที่ในการดำเนินงาน มีงบประมาณเป็นของตนเอง แต่ถึงแม้จะเป็นอิสระ ส่วนกลางก็จะคอยควบคุมดูแลการดำเนินงานต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปโดยความเรียบร้อยและถูกต้อง เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาร่วมกัน นอกจากจะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบรรยากาศการทำงานแบบมีส่วนร่วมและมีประสิทธิภาพ ยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร สามารถนำไปสู่ความโปร่งใสในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและลดการทุจริต
จึงได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสมาชิกสภาท้องถิ่น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล เกิดกลไกการปฏิบัติงานโปร่งใสและสามารถตรวจสอบ ช่วยลดปัญหาการทุจริต ส่งผลต่อการพัฒนาองค์กร
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมศักยภาพสมาชิกสภาท้องถิ่นในการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร
2. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและอำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภาท้องถิ่น
4. เป้าหมาย
สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. วิธีการดำเนินงาน
1. จัดทำคู่มือระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สมาชิกสภาท้องถิ่นใช้สำหรับการประชุม
2. จัดอบรมให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและอำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภาท้องถิ่น และความรู้ในข้อบังคับการประชุมสภา วิธีการตรวจสอบของสภา การตั้งกะทู้ และระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
3. แต่งตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการต่างๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่างๆ การแปรญัตติร่างข้อบัญญัติประจำปี การตรวจรายงานการประชุม การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา การจัดทำแผนปฎิบัติการป้องกันการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7. ระยะเวลาดำเนินงาน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 256๕
8. งบประมาณดำเนินการ
-
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์กรปกครองส่วนตำบลเขาขาว
-๗๖-
10. ผลลัพธ์
1. สมาชิกสภาท้องถิ่นมีความรู้ความเข้าใจ บทบาทและอำนาจหน้าที่ และสามารถปฏิบัติภารกิจได้ถูกต้องไปตามระเบียบ กฎหมาย
2. สมาชิกสภาท้องถิ่นสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร ด้วยความเป็นธรรม ตรงไปตรงมา
4. การเสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community) และบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต
4.4.1 ส่งเสริมให้มีการดำเนินการเฝ้าระวังการทุจริต
1. ชื่อโครงการ :กิจกรรมส่งเสริมชุมชนเฝ้าระวังการทุจริต
2. หลักการและเหตุผล
ค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคมไทยในปัจจุบัน เป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เนื่องจากโครงสร้างทางสังคมเป็นระบบอุปถัมภ์ การเล็งเห็นผลประโยชน์ของตนหรือพวกพ้องดีกว่าส่วนรวม การยกย่องเชิดชูคนรวย การแสวงหาผลประโยชน์จากการเป็นพรรคพวกของนักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพล รวมถึงความเสื่อมของจิตสำนึกและค่านิยมของประชาชนส่วนหนึ่งที่ลดน้อยถอยลง และยังมองเห็นว่าการทุจริตเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่ได้รับผลตอบแทนคุ้มค่า หรือในบางกรณีก็ละเลย เพิกเฉย และไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยว นอกจากนั้นสภาพปัญหาบางส่วนก็มักเกิดจากการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ ปัญหาการทุจริตเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ กระบวนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้สัมฤทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคประชาชน
เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการเฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบการทุจริต จึงได้จัดทำกิจกรรมส่งเสริมชุมชนเฝ้าระวังการทุจริต เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้การต่อต้านการทุจริตให้กับภาคประชาชน รวมถึงส่งเสริมสิทธิในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ในการต่อต้านการทุจริตให้ภาคประชาชน
2. ส่งเสริมการสร้างชุมชนเฝ้าระวังการทุจริต
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
ประชาชนในชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. วิธีดำเนินการ
1. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับต่อต้านการทุจริต ผ่านช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน ได้แก่ บอร์ดประชาสัมพันธ์ ณ ชุมชนต่างๆ บอร์ดประชาสัมพันธ์ ณ ที่ทำการ เว็บไซต์ของหน่วนงาน
2. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตตามเวทีชาวบ้านในโอกาสต่างๆ หรือกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงาน
3. ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชุมชนเฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบการทุจริตในหน่วยงานของรัฐ
4. สนับสนุนการดำเนินการในกิจกรรมของชุมชนเฝ้าระวังการทุจริต
5. เชิญผู้แทนของชุมชนเฝ้าระวังการทุจริต เป็นร่วมสังเกตการณ์ในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการบริหารงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2564
8. งบประมาณดำเนินการ
.-
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์กรปกครองส่วนตำบลเขาขาว
-๗๗-
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับต่อต้านการทุจริตให้ภาคประชาชน ผ่านช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน อย่างน้อย 3 แห่ง
2. มีชุมชนเฝ้าระวังการทุจริตเกิดขึ้น
4.4.2 บูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรมบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต
2. หลักการและเหตุผล
ปัญหาการทุจริตเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ กระบวนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้สัมฤทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตาม ตรวจสอบ การทุจริต
การจะแก้ไขปัญหาการทุจริตได้บรรลุผลต้องเกิดจากการบูรณาการทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต ร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาการทุจริต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงได้จัดทำกิจกรรมบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต เพื่อร่วมสร้างกลไกให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และสร้างค่านิยมในการต่อต้านการทุจริต จนเกิดเครือข่ายและความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตอย่างเข้มแข็งต่อไป
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างกลไกในการบูรณาการทุกภาคส่วนได้ร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และสร้างค่านิยมในการต่อต้านทุจริต
2. เพื่อพัฒนาเครือข่ายและสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการต่อต้านการทุจริตอย่างเข้มแข็ง
4. เป้าหมาย
ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาครัฐวิสาหกิจ สถานศึกษา และภาคประชาชน ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. สถานที่ดำเนินการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. วิธีดำเนินงาน
1. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต จากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาครัฐวิสาหกิจ สถานศึกษา และภาคประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. กำหนดแนวทาง หรือแผนงานในการบูรณาการเพื่อต่อต้านการทุจริต ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาครัฐวิสาหกิจ สถานศึกษา และภาคประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. หน่วยงานบูรณาการต่อต้านการทุจริต จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และสร้างค่านิยมในการต่อต้านทุจริตให้บุคลากรในหน่วยงานของตน และประชาชน
5. หน่วยงานบูรณาการต่อต้านการทุจริต ส่งเสริม และสนับสนุนกันและกันในการขับเคลื่อนตามแนวทาง แผนงาน กิจกรรมในการบูรณาการเพื่อต่อต้านการทุจริต
6. สรุปรายงานผลต่อผู้บริหาร และเผยแพร่รายงานผลต่อสาธารณชน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2564
8. งบประมาณดำเนินการ
-
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์กรปกครองส่วนตำบลเขาขาว
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีการบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และสร้างค่านิยมในการต่อต้านทุจริต
2. เกิดเครือข่ายและความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการต่อต้านการทุจริต
ภาคผนวก